บทความเลี้ยงลูกวัยเด็ก

สร้างความยืดหยุ่นและความมั่นคงทางอารมณ์ให้ลูก

ความยืดหยุ่น

สอนลูกสร้างความยืดหยุ่น

เด็กที่มีความยึดหยุ่นทางอารมณ์ จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์เหนือความคาดหมาย ด้วยความเข้าใจ และสามารถปรับสภาพจิตใจให้กลับสู่สภาวะปกติได้ในเวลาไม่นาน

สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถสอนกันได้ข้ามคืน แต่มาจากการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง และมีหลักการ การที่คนคนหนึ่งจะสามารถมี ความยืดหยุ่นและมั่นคงทางอารมณ์ จะต้องมาจากประสบการณ์ที่เข้าใจว่าความผิดหวัง การไม่ได้อย่างใจ ล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนการของธรมชาติ และไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใด

เด็กควรจะได้รู้ว่าความรู้สึกโกรธ โมโห วิตกกังวล หรือเสียใจ เป็นความรู้สึกที่เราสามารถจัดการได้ และจะไม่อยู่กับเรานาน ถ้าเราสามารถอธิบาย และให้กำลังใจกับเด็กในเวลาที่เขาได้เจอกับเหตุการณ์เหล่านี้ ลูกของเราก็จะได้เรียนรู้ไปในตัวว่า สิ่งเหล่านี้สามารถกิดขึ้นได้ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ และก็ไม่ได้แปลว่า สิ่งเหล่านี้จะทำลายความสุขของเราได้ในระยะยาว ถ้าคุณสามารถเป็นตัวอย่างในการจัดการทางอารมณ์ และชี้แนะลูกได้ ลูกของคุณจะเติบโตมาด้วยสุขภาพจิตที่ดีและอารมณ์ที่มั่นคง และลด
โอกาสเป็นโรคผิดหวังไม่เป็น และโรคซึมเศร้า

การมีความยืดหยุ่น

มีเรื่องหนึ่งที่เราจะต้องหัดลูกให้ได้ คือเรื่องการมีความยืดหยุ่น ความยืดหยุ่นนี้ในภาษาอังกฤษเรียกว่า flexibility
ในที่นี้หมายถึงการที่คนเราจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากเพราะว่าในชีวิตของคนเรา
บางทีแผนที่เราวางเอาไว้มันไม่ได้เป็นตามนั้นหรือไม่บางทีมีบางสิ่งบางอย่างที่เราต้องทำ แต่เราทำไม่ได้ เราไม่มีความยืดหยุ่นพอ

ยกตัวอย่างเช่น วางแผนว่าจะออกไปเที่ยวข้างนอกแต่เสร็จแล้วฝนตก เราจะมีความยืดหยุ่นพอที่จะ relax สบายใจ ยอมรับได้ว่าฝนตกแล้วไม่หงุดหงิดใจแล้วหากิจกรรมอื่นแทนไหม หรือไม่บางทีมีงานบางอย่างที่เราจะต้องไปทำแทนคนอื่น ทั้งๆ เราไม่เคยทำแล้วเราก็ไม่อยากทำด้วย เราจะยืดหยุ่นพอที่จะทำไหม

อีกกรณีนึงเช่น ในครอบครัวหนึ่งคุณแม่เป็นคนที่จะต้องทำกับข้าว เลี้ยงลูก ทำความสะอาดบ้าน แล้วบังเอิญคุณแม่ไม่สบาย พ่อจะต้องมาทำแทน พ่อโมโหมากเลย หงุดหงิดใจ เพราะว่าตัวเองไม่อยากจะทำงานบ้านก็เลยเป็นเรื่องยุ่งยาก ไม่มีความยืดหยุ่นในบทบาท พูดง่ายๆ เป็นพ่อเคยขับรถไปสำนักงาน ทำงานเช้า-เย็นกลับ แล้วกลับมาถึงบ้านก็มีกับข้าวเตรียมไว้ แต่พอถึงเวลาที่จะมาทำบ้างก็ไม่ยืดหยุ่นพอ ก็ทำให้เขาหงุดหงิดใจไม่มีความสุข

การมีความยืดหยุ่นไม่ได้หมายความว่าเราจะรับสถานการณ์ทุกอย่างอย่าง ยิ้มแย้ม เมื่อวันก่อนอาจารย์ไปต่างประเทศ
ขากลับบังเอิญเครื่องบิน นักบินเขาประท้วง เขาไม่ยอมบิน เลยทำให้ต้องหาไฟลท์จากสายการบินอื่นแทน แล้วต้องรออยู่ที่สนามบินร่วม 10 ชั่วโมง อาจารย์ก็หงุดหงิดใจที่ไม่ได้ไปตามตารางที่กำหนด ต้องมาเสียเวลารออยู่ตั้ง 10 ชั่วโมง แล้วหาตั๋วเครื่องบินใหม่ แรกๆก็โกรธสายการบินว่าทำไมทำอย่างนี้ไม่แจ้งเราล่วงหน้า แต่ว่าความโกรธนั้นไม่ได้อยู่นาน ความหงุดหงิดไม่ได้อยู่นานเพราะว่าเรารู้ว่า โอเคสถานการณ์นี้มันเปลี่ยนแปลงไม่ได้ มันจำเป็นที่จะต้องรอแล้วก็หาสิ่งอื่นที่จะทำให้เราปรับตัวได้ อยู่ได้ สามารถมีความสุขกับสิ่งที่เกิดขึ้น นี่คือความยืดหยุ่น

อาจารย์ก็หาหนังสือมาอ่านแล้วก็นั่งเขียนงานที่ต้องเขียน ทำงานพาวเวอร์พ้อยที่จะต้องอบรม ในที่สุดเวลาผ่านไปแล้วเราก็ได้กลับบ้านช้าหน่อย แต่เราก็โอเค ถ้าเราไม่มีความยืดหยุ่นพอมันจะทำให้เราต้อนรับสถานการณ์ที่เราไม่คาดคิดด้วยความหงุดหงิดใจด้วยความทุกข์ใจ แล้วเวลาคนเรามีความทุกข์ใจ อย่าลืมเราพูดถึงเรื่องเรามี Negative Emotion อารมณ์เชิงลบ แล้วอารมณ์เชิงลบนี้ก็ทำให้เราแก้ปัญหาไม่เก่ง ทำให้เราไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ทำให้โลกทัศน์ของเราแคบลง ทำให้ระบบของเราตึงเครียด เพราะฉะนั้นการมีความยืดหยุ่นจริงเป็นเรื่องที่ดีมาก

คุณจะสอนความยืดหยุ่นให้กับลูกได้อย่างไร?

1. สอนโดยทัศน์คติของคุณ

นั่นหมายความว่าในชีวิตประจำวันคุณต้องมีทัศนคติยืดหยุ่น แล้วต้อนรับประสบการณ์ต่างๆ ที่ไม่คาดคิดในมุมมองเชิงบวก
เช่น ถ้ามีคนนัดคุณ นัดครอบครัวออกไปทานข้าว จากนั้นเขาโทรศัพท์มายกเลิกนัด แต่คุณและลูกๆ ก็เตรียมตัวแล้วเรียบร้อย แทนที่รับโทรศัพท์เสร็จแล้วจวางหูแล้ว คุณก็โกรธ โมโห ไม่พอใจ

คุณจะต้องมีทัศนคติโอเคกับปัญหาที่เกิดขึ้น คุณไม่โกรธ คุณไม่อารมณ์เสีย อาจจะโกรธได้นิดหน่อย อารมณ์เสียได้นิดหน่อย แต่ไม่ได้มากเกินไป แล้วคุณสามารถที่จะสงบได้ คุณกำลังสร้างทัศนคติที่จะต้อนรับประสบการณ์ไม่ว่าลบหรือบวก ฉันรับได้ทั้งนั้น คุณกำลังสร้างความยืดหยุ่นและความเข้มแข็งให้กับลูก

เพราะฉะนั้นทัศนคติที่คุณแสดงออกในชีวิตประจำวันในเหจุการณืต่างๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

2. คุณสอนลูกเกี่ยวกับการมีแผนที่สอง

การมีแผนที่สองก็เป็นเรื่องสำคัญ เป็นกลยุทธ์ที่จะทำให้เราสามารถรับมือกับเหตุการณ์อะไรก็ได้ ในแบบที่ไม่จวนตัวจนเกินไป เพราะว่าถ้าเราไม่มีแผนไว้บางทีพอถึงเวลาจริงๆ เราก็อาจจะเสียเวลา เสียหลายสิ่งไป กับการค้นหาว่าแผนที่สองคืออะไร

แผนที่สองก็ยกตัวอย่างเช่น คุณบอกลูกว่าพรุ่งนี้เราไปเที่ยวสวนสนุกกัน นี่คือแผนที่หนึ่ง แต่พอดูแล้วว่าตอนนี้เป็นหน้าฝน
ฝนอาจจะตก ถ้าฝนตกเราจะทำขนมกินกันที่บ้านนะลูก นี่คือแผนที่สอง

มีแผนที่หนึ่งว่าจะทำสิ่งใดๆ ก็ตามแล้วมีแผนที่สองเผื่อไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวัง!

การที่มีแผนที่สองจริงๆ แล้วคือการมีทักษะการวางแผนล่วงหน้า แล้วเป็นทักษะการแก้ปัญหาด้วย ปัญหาที่หนึ่งมันไม่ทะลุทะลวงจะแก้ปัญหาอย่างไร ก็โดยการมีแผนการอันที่สองขึ้นมา ถ้าคุณหัดวางแผนอันที่สองจะทำให้ลูกสามารถที่จะมีกระบวนการวางแผนล่วงหน้าเพื่อจะเตรียมแก้ปัญหาได้เก่งพอ

พอเวลาเขาเจอสถานการณ์อะไรก็ตามที่ไม่ได้เป็นไปตามที่เขาคิดเขาจะไม่หงุดหงิดมากเกินไป เขาจะไม่เสียกำลังใจมาก เพราะเขาสามารถที่จะมีแผนที่สอง มาทดแทนแล้วมันก็ดีพอๆ หรือบางทีอาจจะดีกว่าแผนที่หนึ่งก็ได้

3. การหัดมองสิ่งต่างๆในเชิงบวก

บางทีคนเราก็ต้องหา เขาเรียกว่าค้นหาเหมือนอย่างนักขุดทอง ไปร่อนทอง ต้องคอยดูเศษอิฐเศษหินอย่างละเอียดว่ามันจะมีชิ้นทองอยู่หรือเปล่า บางทีชีวิตของคนเราต้องหัดค้นหาสิ่งบวกๆ ที่เกิดขึ้น เพราะว่าถ้าเราไม่หัดค้นหาสิ่งบวกมันก้จะทำให้รู้สึกแย่ แล้วรู้สึกชีวิตมันไม่มีความหมาย ไม่มีอะไรดี แล้วชีวิตของหลายคนบางทีมันก็ไม่ค่อยมีอะไรดีเกิดขึ้น หาของบวกๆ ยาก แต่จริงๆ แล้วถ้าหาให้ดีมันมีทั้งนั้น

ตัวอย่างเช่นเรื่องราวของอาจารย์ เมื่อเครื่องบินไปไม่ได้ ดีเลย์ไปต้องเปลี่ยนสายการบิน มันก้มีสิ่งบวกเกิดขึ้น ในการเดินทางครั้งนั้นจริงๆ แล้วเราควรเดินทางแค่ 12 ชั่วโมงเท่านั้น แต่มันกลายเป็น 24 ชั่วโมง

สิ่งบวกที่เกิดขึ้นก็คือว่าในขณะที่พวกเราคนไทยจะต้องกลับประเทศไทย อาจารย์ก็ไปเจอคนงานที่ไปทำงานต่างประเทศแล้วบังเอิญเขาพูดภาษาอังกฤษไม่เป็นด้วยการที่เราต้องมามีปัญหาในเรื่องของการเปลี่ยนตั๋ว ก็ได้มีโอกาสช่วยคนงานที่พูดภาษาอังกฤษไม่เป็น แล้วก็ติดต่อเป็นล่ามให้เขาเพื่อให้เขาได้มีโอกาสเปลี่ยนตั๋วด้วย ได้รับคูปองตามที่สายการบินจัดให้
ซึ่งอันนั้นอาจารย์คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากเลยแล้วพอมองย้อนกลับไป อาจารย์คิดว่ามันมีคุณค่ามากกว่าการที่อาจารย์มากลับบ้านตรงเวลาด้วยซ้ำ

การที่ได้มีโอกาสที่จะได้เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือคนอื่นให้เขาไม่ต้องลำบากมาก ถ้าเราไม่ได้เจอกันตอนนั้นเขาอาจจะมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นก็ได้

สิ่งนี้เป็นการหัดมองสถานการณ์เชิงบวก คุณต้องสอนลูกว่า ในสิ่งลบๆ ที่เกิดขึ้นมองดูดีๆ นะลูก มันมีของบวกเกิดขึ้นด้วย
ถ้าเพียงแต่เราจะหัดมอง
.. นี่คือวิธีที่จะสร้างกำลังใจกับตัวเอง สร้างความหวัง วิธีค้นหาสิ่งดีๆ ในชีวิต ชีวิตเราไม่ได้ราบเรียบ เส้นทางโรยด้วยกลีบกุหลาบ วันหนึ่งเมื่อเราไม่อยู่ลูกเราต้องอยู่ด้วยตัวของเขาเอง เขาควรจะต้องหัดค้นหากลีบกุหลาบที่หล่นอยู่ข้างทางที่มันรกรุงรังด้วยก้อนหินมันก้จะมีกลีบกุหลาบอยู่ได้บ้าง หัดให้ลูกค้นหาสิ่งดีๆ หัดให้ลูกมีความยืดหยุ่น หัดให้ลูกมีแผนสอง เป็นตัวอย่างในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ในเชิงบวก

นี่คือการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในชีวิตของลูก

สอนลูกให้ลูกมีความเข้มแข็งและมีความมั่นทางอารมณ์
แนะนำหลักสูตรออนไลน์ “เลี้ยงลูกใหม่ ปั้นให้ดี” และอ่านหนังสือ “สร้าง EQ ให้ลูกคุณ”

Similar Posts