ช่วยลูกสร้างตัวตนที่มั่นคง เลี้ยงลูกเชิงบวก

เลี้ยงลูกเชิงบวก
ปัจจุบันความเครียดแม้แต่เด็กๆ เองก็มีความเครียด ซึ่งส่งผลต่อตัวเด็กเป็นอย่างมาก การเลี้ยงลูกเชิงบวก จึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือเด็กๆ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กๆนั้น หนึ่งในปัญหาที่ทำให้เด็กมีความเครียดและความกังวลคือ
ปัญหาทางครอบครัว การเลี้ยงลูกเชิงบวกจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะสามารถช่วยให้เด็กมีความคิดและทำให้ปัญหานี้น้อยลงมากขึ้น แต่แม้ว่าปัญหาที่ทำให้เด็กๆ เครียดไม่ใช่ปัญหาครอบครัว แต่การที่ครอบครัวเป็นหนึ่งแรงสนับสนุนพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาทำได้ดีก็อาจจะช่วยแก้ไขความเครียดนั้นได้
การมีตัวตนที่มั่นคงจะช่วยให้ลูกเติบโตขึ้นด้วยความรักตนเอง ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือทำร้ายทั้งตนเองและผู้อื่น มีจุดมุ่งหมายของตัวเองชัดเจน มีความคิดบวก สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ลูกดำเนินชีวิตได้อย่างดีและมีความสุข
ช่วยลูกสร้างตัวตนที่มั่นคง
เวลาเด็กมาหาอาจารย์ อาจารย์ก็ทำการตรวจสภาพจิตเด็ก นอกจากนี้เราก็ยังให้เด็กทำแบบทดสอบ
มีแบบทำสอบที่ให้เด็กทำบ่อยๆ เหมือนประโยคที่มีแค่ครึ่งประโยคแล้วก็ให้เด็กเติมว่าเขาคิดยังไง
เช่น ประโยคว่าฉันรู้สึก…… (จะเติมความรู้สึกอะไรก็ได้)
ฉันคิดว่าตนเอง…….. (เติมอะไรก็ได้เกี่ยวกับมุมมองตัวเอง)
อยากจะเล่าให้ฟังถึงเด็กคนนึงที่ได้ทำสอบถามนี้ พออ่านแล้วรู้สึกดีจังเลย 🥰
🔸 คุณพ่อคุณแม่ของฉันคิดว่า…..ฉันเป็นเด็กดี
🔸 คุณครูของฉันคิดว่า..…ฉันเป็นเด็กดี
🔸 ฉันอยากเป็น….คนดี
พออ่านแล้วคุณรู้สึกอย่างไรคะ?
สำหรับอาจารย์ที่อ่านแล้วรู้สึกมีความสุข มีความสุขที่เป็นเด็กคนหนึ่งมีมุมมองเกี่ยวกับตัวเองว่า
เขาดีพอ เขาเป็นคนดี เขาเป็นคนใช้ได้ แล้วก็นึกถึงในสภาพแวดล้อมของเขา เมื่อเขาอยู่ที่บ้านเขาคงได้รับข้อมูลจากพ่อแม่ว่าเขาดีพอ พอเขาอยู่ที่โรงเรียนคุณครูคงสะท้อนให้เขาเห็นว่าดีพอ
จากสองข้อแรกที่ เขาบอกว่าคุณพ่อคุณแม่คิดว่าฉันเป็นเด็กดี คุณครูคิดว่าฉันเป็นเด็กดี
ก็นำไปสู่มุมมองตัวเองว่าฉันอยากเป็นคนดีหรือความตั้งใจว่าฉันอยากจะเป็นคนดี
สิ่งนี้บ่งบอกถึงเป้าหมายเกี่ยวกับตัวเองที่เป็นเป้าหมายเชิงบวก ในการที่เราเลี้ยงเด็กขึ้นมาคนหนึ่งเราก็อยากให้เขาได้มีเป้าหมาย เกี่ยวกับตัวเขาในเชิงบวก อยากให้เขามีมุมมองเกี่ยวกับตัวเองในเชิงบวก
แล้วเป็นสิ่งที่ทำสำเร็จในตัวเด็กคนนี้ค่ะ 😊
เมื่อมาทำความรู้จักเด็กคนนี้ก็พบว่าชีวิตในบ้านมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก..
อาจารย์ก็ถามว่า
👩🏻⚕️ “หนูรู้ได้อย่างไรคุณพ่อคุณแม่คิดว่าหนูเป็นเด็กดี”
👦🏻 “ไม่รู้สิครับ มันรู้สึกได้เอง”
👩🏻⚕️ “ไหนลองนึกดู มันรู้สึกได้เองตอนไหน”
เขาก็นิ่งไปสักพักหนึ่งแล้วเขาก็บอกว่า
“ตอนที่คุณพ่อคุณแม่มองผมแล้วยิ้ม”
มาวิเคราะห์ดูประโยคนี้ที่เด็กบอกนะคะ มันแปลว่สในปฏิสัมพันธ์ที่เขามีกับพ่อแม่ เขาได้เห็นฟีดแบคหรือข้อมูลย้อนกลับให้เขาในแบบบวก เมื่อพ่อแม่มองดูเขาแล้วพ่อแม่ก็ยิ้ม คงเป็นยิ้มในแบบที่รู้สึกดีกับลูก รู้สึกภูมิใจในตัวลู
คงเป็นยิ้มในแบบที่รู้สึกดีกับลูก รู้สึกภูมิใจในตัวลูก รู้สึกว่าลูกเข้าท่า รู้สึกว่าลูกน่ารัก
นี่เป็นสิ่งที่บอกเราว่าเด็กๆ อ่านฟีดแบคจากเรา เด็กๆ อ่านข้อมูลที่พ่อแม่ส่งมาให้
😠 ถ้าพ่อแม่มองเขาด้วยสายตาขมวดคิ้ว หน้าไม่ดี ไม่มีความสุข เด็กๆ ก็คงอ่านข้อมูลอันนั้นว่าเขาไม่ดีพอ จริงๆ แล้วเด็กๆ จะมีความรู้สึก ความคิดบางอย่างที่เรียกว่า egocentric ในที่นี้คำว่า centric แปลว่า เป็นศูนย์กลาง ego ก็หมายถึงตัวเรา
💡 egocentric คือ ความคิดในแบบที่ว่าเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง คำว่าเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกอย่างจะต้องตามใจฉันเสมอ แต่มีความหมายอีกอันนึงคือ เขาคิดว่าตัวเขาเป็นต้นเหตุของหลายๆ สิ่ง
❌ เพราะฉะนั้นเวลาที่พ่อแม่มองลูกเชิงลบหรือมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดี เด็กก็จะคิดว่า..
- เขาเป็นต้นเหตุให้พ่อแม่ไม่พอใจ
- เขาเป็นต้นเหตุให้พ่อแม่ไม่มีความสุข
- เขาเป็นสาเหตุของสิ่งไม่ดีหลายอย่าง
- ถ้าพ่อแม่ทะเลาะกัน เขาคิดว่าเขาเป็นต้นเหตุที่ทำให้พ่อแม่ทะเลาะกัน
ความคิดแบบนี้เกิดขึ้นแล้วติดค้างมา อย่างที่อาจารย์บอกลักษณะความคิดของเด็กก็มักจะเป็นสไตล์นั้น
เพราะฉะนั้นพ่อแม่เองคงจะต้องระวังในการที่ส่งข้อมูลย้อนกลับให้ลูกว่าลูกจะอ่านออกมาว่ายังไง
อยากให้พ่อแม่ทบทวนปฏิสัมพันธ์ที่เรามีกันแต่ละวัน ปฏิสัมพันธ์ที่มีแต่ละวันน่าจะเป็นในแบบที่บวกมากกว่าลบแน่นอน
ในชีวิตครอบครัวมันเป็นไปไม่ได้ที่จะมีปฏิสัมพันธ์บวกอย่างเดียว ปฏิสัมพันธ์ลบมันเกิดขึ้นได้ง่ายและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง - เวลาเราเหนื่อย
- เวลาลูกไม่เชื่อฟัง
- เราต้องพูดเยอะแล้วก็อารมณ์เสีย
- เวลาเด็กถูกเตือนมากๆ เขาก็หงุดหงิดใจ ก็มีปฏิสัมพันธ์เชิงลบได้
แต่ในชีวิตครอบครัวที่จะเอื้อให้ลูกเติบโตไปได้ดีพอ คุณต้องสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกให้มีสัดส่วน
มากกว่าปฏิสัมพันธ์เชิงลบ
ถ้าคุณทำให้สัดส่วนนี้มันไม่ดี ลบมากกว่าบวกหรือลบเท่ากับบวกก็ยังไม่ดี
✅ ต้องบวกมากกว่าลบ อันนี้จากงานวิจัยค่ะ ว่าประสบการณ์เชิงบวกต้องมากกว่าประสบการณ์เชิงลบ
เมื่อคุณสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกให้มากกว่าเชิงลบ มันจะทำให้ - เด็กมีความรู้สึกว่ามีความสุข
- มีอารมณ์บวก มีความหวัง
- รู้สึกว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ดี
- รู้สึกว่าครอบครัวอบอุ่น
- รู้สึกว่าพ่อแม่ต้อนรับเรา
- รู้สึกว่าเรามีความหมาย
- เรามีคุณค่า
นั่นคือการวางพื้นฐานของตัวตนที่มั่นคงให้กับลูก เพราะฉะนั้น อย่าลืมสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกให้มากขึ้น ก็ลองไปทบทวนสัดส่วนปฏิสัมพันธ์เชิงบวกและลบที่มีในครอบครัวแต่ละวันนะคะ แล้วเปลี่ยนสัดส่วนใหม่ให้ดีพอค่ะ
เป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านค่ะ ❤️