บทความเลี้ยงลูกวัยเด็ก | บทความเลี้ยงลูกวัยรุ่น

ทำไมลูกสอบตก ลูกสอบตกบ่อย ผลการเรียนแย่ลง

ลูกสอบตก

“ชั้นประถมลูกเรียนดีมาก แต่ทำไมพอขึ้นมัธยมแล้วการเรียนตกลงไปเลย?”


คุณกำลังมีคำถามแบบนี้ไหม?
คุณจะพบคำตอบเมื่ออ่านบทนี้จบ..

การเติบโตทางความคิด ลูกสอบตกหรือผลการเรียนแย่ลง


ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่สำคัญมากสำหรับการเติบโตของสมอง กระบวนการทางความคิดของวัยรุ่นขยับจากการคิดแบบรูปธรรม (concrete thinking)ไปเป็นความคิดเชิงนามธรรม (abstract thinking) และเริ่มต้นมีความคิดในแบบที่เรียกว่า metacogniion ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะตรวจสอบและควบคุมกระบวนการคิดของตน นอกจากนี้ในช่วงวัยรุ่น ทักษะในการหาเหตุผล
การแก้ปัญหาและทำความเข้าใจกับโลกรอบตัวมีการพัฒนาไปมากกว่าในวัยเด็กแต่อัตราการพัฒนานี้ในวัยรุ่นแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนช้า บางคนเร็ว

แต่ละคนแตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม สมองของวัยรุ่นแต่ละคนเติบโตแตกต่างกัน การเริ่มพัฒนาทางกระบวนการคิดจึงแตกต่างกัน บางคนพัฒนาเร็ว แต่บางคนช้า ในชั้นเรียนเดียวกันเด็กบางคนมีความพร้อมที่จะทำกิจกรรมประเภทแก้ปัญหา (problem solving) ซึ่งเป็นกระบวนการคิดขั้นสูงแบบนามธรรมแต่เด็กบางคนยังอยู่ที่ระดับการประมวลข้อมูลที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น ในเด็กกลุ่มนี้จะมีปัญหาการเรียนในช่วงมัธยมได้

บางครั้งเก่ง แต่บางครั้งไม่เข้าท่า!


เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเด็กวัยรุ่นที่ฉลาดและทำหลายอย่างได้เก่ง บางครั้งกลับตัดสินใจทำอะไรบางอย่างที่ไม่เข้าท่าเอาเสียเลย! ในช่วงวัยรุ่นสมองยังเติบโตไม่สมบูณ์แต่เติบโตเพียงแค่ 80 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น สมองส่วนใหญ่ที่สุดที่เรียกว่า cortex นั้นมีการแบ่งเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่า lobe การเติบโตของ cortex จะเริ่มจากด้านหลังไปด้านหน้า

การเรียนที่ยากขึ้น


ในช่วงวัยรุ่น การเรียนจะแตกต่างไปจากในวัยเด็ก พ่อแม่มักจะพบว่าลูกวัยรุ่นมีผลการเรียนแย่ลง ทั้งๆที่เคยเรียนดีในชั้นอนุบาลและชั้นประถมสาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นเป็นต้นไป การเรียนจะมีความยากขึ้น ละเอียดขึ้นและมีเนื้อหามากขึ้น
การเรียนในวัยนี้จะต้องใช้ความสามารถเพิ่มขึ้นหลายอย่าง โดยเฉพาะกระบวนการคิดขั้นสูงซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียน
วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และคณิตศาสตร์ ดังแสดงในตารางหน้าถัดไปในช่องแรกเป็นความสามารถที่ต้องใช้ในการเรียนระดับมัธยมขึ้นไป จะเห็นได้ว่ามีหลายอย่างส่วนช่องที่ 2 เป็นสิ่งที่วัยรุ่นจะต้องทำให้ได้ในการเรียนแต่ละวันเพื่อให้การเรียนเป็นไปอย่างราบรื่น

ปัญหาที่พบบ่อย

จากตารางนี้ คุณคงนึกออกแล้วว่า การเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้นต้องใช้ทักษะอะไรบ้าง ในเด็กบางคนเมื่อขาดทักษะเหล่านี้ จึงเกิดปัญหาการเรียนขึ้นมาซึ่งได้แก่

1. โรคสมาธิบกพร่อง

ปัญหาสมาธิบกพร่องเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุด และในเด็กจำนวนมากยังคงมีปัญหานี้อยู่แม้จะโตเป็นวัยรุ่นแล้วก็ตาม อาการซนอยู่ไม่นิ่งอาจจะลดลงเมื่อโตขึ้น แต่อาการสมาธิไม่ดียังคงมีอยู่ สำหรับเด็กบางคนในตอนเล็กๆ อาจไม่มีปัญหาอะไร แต่พอขึ้นชั้นประถมปลายหรือมัธยมแล้วจะเห็นปัญหาชัดเจนขึ้น ทั้งนี้เพราะการเรียนมีเนื้อหายากขึ้น และต้องใช้สมาธิและการบริหารจัดการมากขึ้น

ความสามารถที่ต้องใช้ในการเรียนสิ่งที่ต้องทําให้ได้
1. รับรู้ข้อมูลที่เข้ามาได้อย่างละเอียดต้องจับรายละเอียดปลีกย่อยได้
เพราะข้อมูลสลับซับซ้อนมากขึ้น
จะมองแต่ภาพรวมไม่ได้
2. มีกระบวนการคิดขั้นสูงสามารถคิดเชิงนามธรรม เข้าใจ
สัญลักษณ์และกฎต่างๆ สร้างความ
คิดรวบยอดได้
3. สังเคราะห์ความคิดและ
ทักษะต่างๆ (resynthesis)
สามารถเอาข้อมูลที่เรียนรู้มาแยกแยะ
ปรับปรุง และประยุกต์เพื่อใช้งาน
4. บูรณาการความรู้จากหลายแหล่งประมวลข้อมูลจากหนังสือหลายเล่ม
หรือครูผู้สอนหลายคน รวมทั้งจาก
ข้อมูล (ความจำ) เก่า และข้อมูลใหม่ที่เพิ่งได้เข้ามา
5. ดึงข้อมูลที่เป็นความจำออกมาใช้ได้เร็ว
(retrieve memory)
หาคำตอบได้เร็ว ค้นข้อมูลจากศูนย์ความ
จำในสมองได้เร็ว ความสามารถนี้จะช่วยให้
ทำกิจกรรมการเรียนหลายอย่างได้เร็ว(เช่น
การสะกดคำ เขียนคำศัพท์อ่านได้เข้าใจ
คำนวณได้เร็ว)
6. ถ่ายทอดความคิดออกมา
เป็นการเขียนได้ดี
เขียนรายงาน ทำข้อสอบอัตนัยได้ดี
7. มีทักษะทางภาษาที่ดีเข้าใจเร็ว คิดเร็ว อธิบายได้เร็ว พูดอภิปรายได้
8. มีประสิทธิภาพและการจัดการที่ดีแบ่งเวลาเป็นจัดระบบระเบียบงานที่ต้องทำ
รู้จักจดโน๊ต และวางแผนเตรียมสอบ
9. มีความอดทนมากขึ้นทำงานได้นานขึ้น เพราะงานมักจะยากและ
มีปริมาณมาก จึงต้องมีความอดทนมากพอ

ตารางจากหนังสือปัญหาการเรียนและเทคนิคช่วยให้ลูกเรียนดี

2.ปัญหาความจำ

ความจำไม่ดีมักกลายเป็นปัญหาสำคัญตั้งแต่เริ่มชั้นประถมปลายทั้งนี้เพราะการเรียนมีเนื้อหามากขึ้น ปัญหาความจำมีหลายอย่างได้แก่

  • ไม่สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้ออกมาใช้ได้เร็วพอ (retrieve memo-y) ปัญหานี้อาจเกี่ยวข้องกับความจำโดยรวม หรือความจำเฉพาะด้าน เช่น จำตัวสะกดไม่ได้ แต่ความจำอย่างอื่นๆ ดี
  • จำรายละเอียดไม่ได้ทั้งหมด แต่นึกออกเพียงบางส่วน (recall ไม่ได้แต่ recognize ได้) ตัวอย่างได้แก่ การเขียนคำตอบเองไม่ได้ แต่ถ้าให้ตัวเลือกมาจะตอบได้ ดังนั้น นักเรียนหลายคนทำข้อสอบปรนัย (ข้อสอบที่มีตัวเลือกมาให้เลือก ได้ แต่ทำข้อสอบอัตนัย (ข้อสอบที่ให้เขียนอธิบาย) ไม่ได้
  • ปัญหาความจำอาจแสดงออกมาในลักษณะนึกคำพูดไม่ออก ทำให้อ่านพูด/เขียนไม่เร็วพอ บางคนเรียนภาษาต่างประเทศไม่ได้ เพราะความจำเกี่ยวกับเสียง (auditory recall) ไม่ดี บางคนอาจคิดเลขช้า เข้าใจขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ซ้ำา หรือจำเหตุการณ์ต่างๆในวิชาประวัติศาสตร์ไม่ได้
  • เด็กบางคนไม่มีกลยุทธ์ช่วยจำ เช่น ไม่สามารถเชื่อมโยงภาพกับเสียงเข้าด้วยกัน (visual-auditory association)
  • ปัญหาความจำอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาอื่น เช่นหากสมาธิไม่ดี ก็ทำให้ความจำไม่ดีหรือจำได้เลือนลาง บางครั้งเด็กมัวแต่ไปสนใจสิ่งเร้าอื่น ทำให้จำสิ่งที่สำคัญไม่ได้ เช่น เด็กจำเนื้อหาที่ครูสอนในชั่งโมงไม่ได้ แต่จำได้ว่าครพูดขำขันอะไร เป็นต้นในกรณีนี้ เด็กไม่ได้มีปัญหาที่ความจำ แต่มีปัญหาที่การตั้งสมาธิทำให้บันทึกข้อมูลที่สำคัญหรือเลือกเฟันที่จะจดจ่อกับข้อมูลที่ตรงประเด็นไม่ได้
  • เด็กไม่เข้าใจแนวคิดหรือไม่มีความคิดรวบยอด เนื่องจากวิธีที่ครูสอนนั้นสับสน หรือเด็กมีความบกพร่องในการประมวลข้อมูล ทำให้ไม่สามารถบันทึกเป็นความจำได้ดีพอ(poor retention) และทำให้นึกไม่ออก (poor retrieval)

3. ความบกพร่องในกระบวนการคิดขั้นสูง

ดังที่กล่าวแล้วว่า เมื่อเด็กโตขึ้นการเรียนจะต้องอาศัยความสามารถในการคิดระดับสูงที่เรียกว่า higher conceptual function แต่เด็กหลายคนขาดความสามารถเหล่านี้ การคิดระดับสูงที่สำคัญได้แก่

  • การคิดเกี่ยวกับนามธรรมและสัญลักษณ์ เด็กจะต้องเข้าใจสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาหรือจับต้องไม่ได้ ซึ่งอยู่ในสภาพของนามธรรม รวมทั้งเข้าใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์ต่างๆ ความสามารถนี้จำเป็นมากในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์รวมทั้งสังคมศาสตร์ ดังนั้นเด็กที่การคิดระดับสูงยังไม่พัฒนา จะเรียนวิชาเหล่านี้ไม่ค่อยดี
  • การเข้าใจกฏต่าง ๆ เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นซ้ำๆอย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นกฎ เช่น กฎทางวิทยาศาสตร์ ไวยากรณ์ หรือคณิตศาสตร์ เป็นต้น เด็กจะต้องมองเห็นและเข้าใจกฎเหล่านั้น การมองเห็นกฎจะทำให้เราเข้าใจเหตุการณ์รอบตัวมากขึ้น ทั้งช่วยให้ความจำดีขึ้นด้วย
  • การจัดแบ่งหมวดหมู่ เด็กต้องจัดแบ่งหมวดหมู่หรือประเภทของข้อมูลและสิ่งเร้ารอบตัว การจัดแบ่งนี้จะเป็นไปได้เมื่อเด็กมองเห็นความเหมือนและความแตกต่างระหว่างสิ่งของ รวมทั้งความสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอของเหตุการณ์รอบตัว
  • การสรุปความคิด/สร้างความคิดรวบยอด การสรุปความคิดจากสิ่งที่อ่านหรือเรียนรู้ และนำความคิดนั้นไปเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นรอบตัวได้เป็นสิ่งสำคัญ เด็กบางคนเข้าใจเฉพาะเนื้อหาที่มีอยู่ในหนังสือที่อ่าน แต่ไม่สามารถนำความเข้าใจนั้นไปเชื่อมโยงกับสิ่งอื่น หรือไม่สามารถเอาไปใช้แก้ปัญหาได้ ส่วนการสร้างความคิดรวบยอด และการคาดคะเนได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ
  • ความเข้าใจว่าอะไรเป็นประเด็นสำคัญ เด็กจะต้องแยกแยะได้ว่าสิ่งที่เรียนรู้นั้นมีอะไรเป็นหัวใจหรือประเด็นสำคัญ และอะไรเป็นรายละเอียดปลีกย่อยหรือเป็นข้อมูลเพื่อประกอบเท่านั้น พูดง่ายๆ ว่าต้องแยก “เนื้อ”ออกจาก “น้ำ” ได้ความสามารถนี้จำเป็นอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันที่มีข้อมูลข่าวสารและความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นอย่างมากมายทุกวัน

การที่ทักษะการคิดขั้นสูงของเด็กบางคนยังพัฒนาไปไม่ดีพอ เมื่อเทียบกับเนื้อหาที่ยากขึ้นนั้น ทำให้การเรียนของเด็กแย่ลง เด็กจะรู้สึกว่าการเรียนยาก ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน ไม่สนุกกับสิ่งที่เรียน ทำให้ขาดแรงจูงใจในการเรียนตามมา และหลายคนก็เกิดปัญหาพฤติกรรมหรือปัญหาทางอารมณ์ในที่สุด

แนะนำบทเรียนออนไลน์ “เลี้ยงลูกใหม่ ปั้นให้ดี”

Similar Posts