บทความเลี้ยงลูกวัยเด็ก | บทความเลี้ยงลูกวัยรุ่น

แม่รักน้องมากกว่าฉัน พี่อิจฉาน้อง

พี่อิจฉาน้อง

☀️ เด็กอายุ 4 ขวบ มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปหลังจากแม่คลอดน้อง คือ โวยวาย หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจและติดแม่แจ

📌 ทำไมหนูน้อยที่น่ารักถึงเปลี่ยนไปถึงเพียงนี้? แล้วแม่ต้องทำอย่างไรดี?

✔ เคสแบบนี้ มองได้ไม่ยากว่า พี่กำลังมีปัญหาการปรับตัวกับน้องใหม่

◾ เมื่อน้องเพิ่งคลอด พ่อแม่ก็ต้องยุ่งกับน้อง การดูแลพี่ต้องเปลี่ยนไปจากเดิมแน่นอน เด็กอายุ 3-4 ขวบถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในการเลี้ยงดูก็จะต้องเกิดความตึงเครียดและทำให้อาละวาดเป็นธรรมดา

◾ นอกจากนี้พี่กำลังรู้สึก “ถูกแบ่ง ถูกแย่ง” เพราะไม่ได้เป็นจุดสนใจของที่บ้านเหมือนเดิม อย่าลืมว่าพี่เคยรับตำแหน่งลูกคนเดียวมาถึง 4 ปี มันเป็นระยะเวลานานทีเดียว การเปลี่ยนแปลงนี้จึงเป็นสิ่งที่ทำใจได้ยาก

🌈 วิธีแก้ไขคือ
1.พ่อแม่ต้องใจเย็น เห็นใจลูกสักนิด อย่าหงุดหงิดอารมณ์เสียกัยลูก เพราะจะทำให้ลูกแย่ลง

  1. พยายามจัดการเลี้ยงดูในชีวิตประจำวันของพี่ให้เหมือนเดิม
    เคยดูแลอย่างไรก็พยายามทำตามเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  2. พ่อแม่ต้องให้เวลาส่วนตัวกับพี่ พยายามให้พี่รู้สึกว่าพ่อแม่ยังสนใจเขา ยังรักเขาอยู่ เพราะสมการของเด็กเล็กๆก็คือ
    ความสนใจ=ความรัก
    ถ้าพ่อแม่สนใจก็คือพ่อแม่รักเขา พ่อแม่ไม่สนใจก็คือไม่รัก และเด็กที่รู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รักก็จะประท้วง หงุดหงิดโมโห และจะพาลอิจฉาน้องในที่สุด
  3. ชมลูก ในแง่ที่ว่า ลูกเป็นพี่ ลูกทำหลายอย่างได้ดี งั้นช่วยแม่หน่อย เพราะน้องยังทำไม่ได้ (บางทีอาจต้องยอว่า “น้องยังไม่เก่งเท่าหนู คนเก่งต้องช่วยคนที่ไม่เก่งนะ” พูดแบบนี้ จะช่วยสร้างความเมตตากรุณาและความภูมิใจในตัวเอง เมื่อเราภูมิใจในตัวเอง เราจะไม่อิจฉาและจะเมตตาได้ง่ายขึ้น)

💓 ขอเตือนอีกครั้ง คุณต้องใจเย็น เพราะหากคุณโมโหดุลูกมากๆ ลูกจะรู้สึกว่า

“ชัวร์เลย! แม่รักน้องมากกว่าฉัน”

📌 อยากให้อ่านรายละเอียดการช่วยให้ลูกปรับตัวปรับอารมณ์กับสถานการณ์ที่ยากลำบากจากหนังสือ “สร้าง EQ ให้ลูกคุณ” และ “เรื่องเล่าในห้องสีเบจ”

Similar Posts

ไม่มีหมวดหมู่

พี่อิจฉาน้อง

ตรวจเด็กผู้ชายแปดขวบ
พอยื่นกระดาษให้แผ่นหนึ่ง แล้วบอกว่า “วาดรูปอะไรก็ได้ค่ะ”

นาทีเดียวก็วาดเสร็จ
“เล่าให้ฟังหน่อย รูปอะไร?”
“รูปผมเอง”
“กำลังทำอะไรคะ?”

“เหยียบหัวน้อง”

555 ระบายความแค้นบนกระดาษเลยนะ
สงสัยอยู่ที่บ้านแค้นใจ ระบายไม่ได้
เลยมาระบายที่นี่

น่าเห็นใจจริงๆ
ความทุกข์ใจของพี่มักถูกมองข้าม เพราะความไม่เดียงสาของน้อง
แต่น้องก็แสบไม่เบาเลยนะ จะบอกให้!

พี่อิจฉาน้อง

ขอเล่าต่อจากวานซืนรูปที่ลงข้างต้น ที่ลงรูปพี่เหยียบหัวน้อง

💜เรื่องพี่อิจฉาน้อง เราเรียกให้สบายหูว่า sibling rivalry เพราะพอเรียกเป็นภาษาไทยแล้วมันดูไม่ดี ไม่น่าฟัง

☹️สาเหตุส่วนใหญ่ มาจากวิธีที่พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ในบ้านปฏิบัติแบบไม่ยุติธรรมกับลูก ทำให้ลูกคนหนึ่งรู้สึกขาดรัก ก็เลยอิจฉาคนที่ได้ความรักมากกว่า

(มีบางราย เกิดจากเด็กคนหนึ่งมีแนวโน้มบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง ก็เลยอิจฉาทุกคนที่ได้มากกว่าตน ทั้งๆที่ความจริงแล้วตนอาจได้มากกว่า แต่ก็ไม่รู้สึก “พอ”)

😬พี่อิจฉาน้องหรือน้องอิฉาพี่ กลไกก็เหมือนๆกัน แต่พบแบบแรกมากกว่า เพราะตำแหน่ง “พี่” ก็มาพร้อมกับการต้องเสียสละให้น้อง ประโยคที่ได้ยินประจำคือ
-เป็นพี่ต้องเสียสละให้น้อง
-น้องยังเล็กอยู่
-ยอมๆไปเถอะ
-เป็นพี่ต้องรักน้อง
หรืออะไรทำนองนี้

💖หากทิ้งไว้นานๆ ผลตามมาของปัญหานี้คือ พี่ซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น รู้สึกตนเองไม่ดีพอ รู้สึกไม่เป็นที่ต้องการของใคร ส่วนน้องก็จะกลายเป็นคนกร่าง รู้สึกว่าฉันต้องได้ทุกอย่าง ในที่สุดก็กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว เจ้าอารมณ์และอาจจะพาลเกเร เป็นอันธพาลประจำบ้านไปเลยก็ได้ ถ้าที่บ้านมีมรดกเยอะ พอพ่อแม่ตายก็กลายเป็นศึกสายเลือด!

🔴วิธีแก้ไขดูจากหนังสือ สร้าง EQให้ลูกคุณ หน้า 255-263 วันนี้ถ่ายรูปมาให้อ่าน เพราะขี้เกียจพิมพ์ 55

ปั้นใหม่ #สร้างEQให้ลูกคุณ


Similar Posts