การใช้ยาสมาธิสั้น ช่วยได้จริงหรือ?

“ยาสมาธิสั้น” ช่วยให้สมาธิดีจริงหรือ “ยารักษา”
ออกฤทธิ์อย่างไรจึงช่วยให้ลูกมีสมาธิดีขึ้น?
การช่วยเหลือที่สำคัญอย่างหนึ่งของอาการสมาธิสั้น คือ การใช้ยา คุณพ่อคุณแม่มักตั้งคำถามบ่อย ๆ ว่า ยาจะช่วยให้สมาธิของลูกดีขึ้นจริงหรือและดีขึ้นได้อย่างไร คำตอบคือ ยาสามารถช่วยให้ สมาธิของเด็กดีขึ้น จริง โดยการไปออกฤทธิ์ช่วยปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล อยู่ในระดับที่สมองจะทำหน้าที่ได้ดีขึ้น คือ เด็กจะนิ่ง ควบคุมตนเองให้รับผิดชอบในการทำกิจวัตรประจำวันที่บ้านและรับผิดชอบในเรื่องการเรียนที่โรงเรียนได้ แต่เป็นเพียงช่วงสั้นๆ ตามฤทธิ์ของยาเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การใช้ยาเพื่อช่วยให้สมาธิดีขึ้น จำเป็นต้องอยู่ในการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์และจำเป็นต้อง ใช้ร่วมกับการช่วยเหลือลูกด้านอื่นอย่างถูกต้องและถูกวิธี จะอาศัยยาอย่างเดียวไม่ได้เพราะยาไม่ได้ช่วยให้หายสมาธิสั้น เพียงแต่ ยาช่วยได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น อีกครึ่งหนึ่งคือ ความสุขของเด็ก โดยคุณแม่ต้องแก้ไขตนเองให้หายโกรธและ ช่วยเหลือลูกด้วยความเมตตาอย่างแท้จริง จนลูกรู้สึกได้ถึงความรักความเมตตา ยอมรับการปรับพฤติกรรมของคุณแม่ จนเกิดความเคยชิน เมื่อเติบโตขึ้น อาการจะดีขึ้นเพราะได้ถูกสอนให้ทำในสิ่งที่เหมาะสม และ ในที่สุดจะหายเพราะความสุขจะยิ่งเสริมให้เกิดการพัฒนาของสมองโดยอัตโนมัติ
ยาช่วยให้ลูกมีสมาธิได้อย่างไร ?
การรักษาที่สำคัญสำหรับโรค ADD ก็คือ การใช้ยา ผู้ปกครองมักตั้งคำถามบ่อยๆ ว่า
“ยาจะช่วยให้สมาธิของลูกดีขึ้นจริงหรือ และดีขึ้นได้อย่างไร ?
และยานี้ไปกดประสาทลูกหรือเปล่า ? “
คำตอบก็คือ ยาสามารถช่วยให้สมาธิของเด็กดีขึ้นจริง เด็กจะอยู่นิ่งขึ้นทำงานได้ดีขึ้น แต่ไม่ใช่ด้วยการไปกดประสาทของเด็ก ยาเป็นเพียงไปปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุลและอยู่ในระดับที่สมองจะทำหน้าที่ได้ดี อย่างไรก็ตาม การใช้ยาเพื่อช่วยให้สมาธิดีขึ้นนี้จำเป็นต้องอยู่ในการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์
เมื่อไหร่ควรจะใช้ยา?
ข้อบ่งชี้ประการเดียวของการใช้ยาในการรักษา ADD ก็คือ เมื่อโรคนี้มีความรุนแรงจนทำให้เด็กไม่สามารถใช้ชีวิตได้ดีเพียงพอ คำว่าไม่สามารถใช้ชีวิตได้ดีเพียงพอในที่นี้ได้แก่..
- เด็กไม่สามารถเรียนหนังสือได้ดีเท่าที่ควรจะทำได้
- เด็กก่อความวุ่นวายในชั้นเรียน รบกวนเพื่อนๆ ในห้อง จนครูไม่สามารถควบคุมได้
- เด็กมีปัญหาพฤติกรรมรุนแรงหรือดื้อมาก พ่อแม่เหน็ดเหนื่อยในการควบคุมพฤติกรรมของลูกอย่างมาก จนเกิดปัญหาความตึงเครียดภายในครอบครัว เป็นต้น
- เด็กมีปัญหากับกลุ่มเพื่อนเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ถูกเพื่อนปฏิเสธ เนื่องมาจากการควบคุมตนเองที่ไม่ดี
- เด็กมีปัญหาทางอารมณ์ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า ความนับถือตนเองต่ำ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก 4 ข้อแรก
ยาที่เพิ่มสมาธิ ยาสมาธิสั้น
ยาที่ช่วยเพิ่มสมาธิ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ
1.Psychostimulant
ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ที่สมองส่วนหน้าซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับการตื่นตัวและสมาธิ โดยไปเพิ่ม
ระดับของสารเคมีที่เรียกว่า dopamine และ norepinephrine ในสมอง
โดยทั่วไปแพทย์จะใช้ยากลุ่มนี้เป็นอันดับแรก ยากลุ่มนี้มี 3 ตัวที่มักใช้กันคือ Methylphenidate
Dexedrine และ Pemoline แต่สองตัวหลังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย จึงขอกล่าวถึงเฉพาะยาตัวแรกเท่านั้น
Methylphenidate (MPH) เป็นยาที่แพทย์ใช้เป็นอันดับแรกเนื่องจากออกฤทธิ์เร็ว เห็นผลชัดเจนและมีความปลอดภัยสูง เด็กที่เป็น ADD ร้อยละ 75-80 จะตอบสนองดีต่อยาตัวนี้ สมาธิของเด็กจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายใน 1-2 วันที่เริ่มรับประทานยา อย่างไรก็ตามในเด็กปกติที่ได้รับยาตัวนี้ สมาธิก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการที่เด็กมีอาการดีขึ้นเมื่อกินยาจึงไม่ได้พิสูจน์ว่าเด็กเป็น ADD
นอกจาก MPH จะช่วยให้สมาธิของเด็กดีขึ้นแล้ว ยังมีผลทำให้อาการซนอยู่ไม่นิ่งลดลง อาการหุนหันพลันแล่นและขาดความยั้งคิดก็ลดลงด้วย การเปรียบเทียบเด็กที่ใช้ยานี้กับเด็กที่ใช้ยาเม็ดหลอกที่ไม่มีตัวยาผสมอยู่ (ที่เรียกว่า placebo) พบว่า เด็กที่ได้ MPH จะมีอาการดีขึ้นทุกด้าน ผลการเรียนและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นก็ดีขึ้นด้วย
ขนาดยาที่เริ่มให้ในเด็กทั่วไป คือ 0.3 มก./กก./วัน ในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี แพทย์มักเริ่มให้ 5 มก. ตอนเช้าวันละครั้ง ถ้าไม่มีอาการแพ้ยาหรือผลข้างเคียงอื่นๆ ก็เพิ่มขนาดทีละ 2.5-5 มก. ทุก 2-3 วัน จนได้ผลที่ต้องการ โดยทั่วไปใช้ประมาณ 10-40 มก./วัน (ไม่ควรเกิน 1 มก./กก./วัน) ยานี้ออกฤทธิ์เพียง 4 ชั่วโมง
ฉะนั้น บางรายที่มีอาการมากนอกจากกินยามื้อเช้าแล้วอาจต้องให้ตอนบ่ายอีก 1 มื้อเพื่อช่วยให้เด็กมีสมาธิเรียนหนังสือได้ทั้งวัน ในเด็กที่มีอาการมากและไม่สามารถทำการบ้านในตอนเย็นได้เลย ก็อาจให้มื้อเย็นเพิ่มอีก 1 มื้อ แต่จะไม่ให้ยานี้แก่เด็กหลัง 5 โมงเย็นไปแล้ว เพราะอาจทำให้เด็กนอนไม่หลับ
MPH ที่ใช้ในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ
- ชนิดธรรมดา มีชื่อทางการค้าว่า Ritalin – ริทาลิน หรือ Rubifen
- ชนิดที่ออกฤทธิ์ยาว มีชื่อทางการค้าว่า Concerta
ผลข้างเคียงที่สำคัญของ MPH คือ ทำให้เบื่ออาหาร ปวดท้อง ปวดหัว คลื่นไส้ ท้องผูก
อารมณ์หงุดหงิด แต่อาการเหล่านี้มักหายไปภายในสัปดาห์แรก เด็กบางคนอาจดูซึมลงไปเมื่อได้ยาทั้งนี้เพราะเด็กมีสมาธิและจดจ่อมากขึ้น
Concerta เนื่องจากยา Methylphenidate โดยทั่วไปออกทธิ์อยู่เพียง 2-4 ชม. ยา Concertaคือยา Methylphenidate ที่บรรจุอยู่ในแคปซูลชนิดพิเศษ ที่จะช่วยให้ยาถูกปล่อยออกมาทีละน้อย และสามารถออกฤทธิ์ได้นานถึง 12 ชม. Concerta จึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับเด็ก ADD ที่จำเป็นต้องตั้งสมาธิเป็นเวลานาน เช่นเด็กที่ต้องเรียนหนังสือหนักใช้สมาธิทั้งวัน หรือเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมวุ่นวายควบคุมตนเองไม่ได้ และไม่ยอมกินยา MPH มื้อเที่ยง การใช้ยา Concerta จะตัดปัญหาดังกล่าว เพราะสามารถให้เพียงมื้อเดียวก็จะออกฤทธิ์ได้ทั้งวัน ผลข้างเคียงของยา Concerta จะเหมือน Ritalin
ยาแก้เศร้าแบบ tricyclic เช่น imipramine สามารถลดอาการต่างๆ ในโรค ADD ได้ แพทย์มักใช้ยาตัวนี้เมื่อเด็กไม่สามารถกิน MPH ได้ หรือเมื่อเด็กมีอาการวุ่นวาย อารมณ์แปรปรวนง่าย เป็นโรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวลร่วมด้วย ขนาดยาใช้ประมาณ 3-5 มก./กก./วัน การใช้ยากลุ่มนี้ต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะอาจมีผลข้างเคียงต่อหัวใจ ถ้าไม่มีผู้ปกครองคอยควบคุมดูแลเรื่องการกินยาอย่างระมัดระวังแล้ว แพทย์มักจะไม่สั่งยากลุ่มนี้หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ
2. ยาแก้ซึมเศร้า
ยาแก้เศร้าแบบ tricyclic เช่น imipramine สามารถลดอาการต่างๆ ในโรค ADD ได้ แพทย์มักใช้ยาตัวนี้เมื่อเด็กไม่สามารถกิน MPH ได้ หรือเมื่อเด็กมีอาการวุ่นวาย อารมณ์แปรปรวนง่าย เป็นโรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวลร่วมด้วย ขนาดยาใช้ประมาณ 3-5 มก./กก./วัน การใช้ยากลุ่มนี้ต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะอาจมีผลข้างเคียงต่อหัวใจ ถ้าไม่มีผู้ปกครองคอยควบคุมดูแลเรื่องการกินยาอย่างระมัดระวังแล้ว แพทย์มักจะไม่สั่งยากลุ่มนี้หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ
3. Clonidine (Catapress)
ยานี้เดิมใช้สำหรับลดความดันโลหิตในผู้ใหญ่ แต่เนื่องจากมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทอัตโนมัติ โดยเป็น alpha adrenegic agonist จึงสามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิได้ มักใช้ในกรณีที่เด็กมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อกระตุก ที่เรียกว่า Tics หรือ Tourette หรือเมื่อเด็กหงุดหงิดง่าย มีอารมณ์โกรธรุนแรงและก้าวร้าว
ขนาดที่ใช้ประมาณ 4-5 ไมโครกรัม/กก./วัน ผลข้างเคียงที่พบส่วนใหญ่คืออาการง่วงนอน
ยานี้ออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า อาจต้องรอถึง 2-3 สัปดาห์จึงจะเห็นผล
ยาอื่นๆ เช่น ยาลดความวิตกกังวล ยากันชัก หรือยาแก้แพ้ (antihistamine) ซึ่งมักใช้ให้เด็กง่วงนอนและไม่วุ่นวายนั้น ไม่ค่อยได้ผลเท่าไร โรค ADD อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจให้ยาประเภท antihistamine ในกรณีที่เด็กมีอายุน้อย แต่มีอาการวุ่นวายอยู่ไม่นิ่งมากจนผู้ปกครองควบคุมไม่ไหว
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง ยาเพิ่มสมาธิ (ตอนที่2)
แนะนำอ่านหนังสือ “สร้างสมาธิให้ลูกคุณ” และเรียนออนไลน์บทเรียน “ดูแลลูกสมาธิสั้น”