บทความเลี้ยงลูกวัยรุ่น

ลูกทำร้ายตัวเอง

ลูกทำร้ายตัวเอง

เมื่อคืนก่อนไลฟ์เรื่องลูกทำร้ายตัวเอง การทำร้ายตัวเองในวัยรุ่นและคนหนุ่มสาว

วันนี้ขอสรุปสั้นๆ ลูกทำร้ายตัวเอง


1. การทำร้ายตัวเองในแบบที่ไม่ต้องการฆ่าตัวตาย เรียกว่า non suicidal self injury (หรือย่อว่า NSSI) พฤติกรรมนี้แตกต่างจากการพยายามฆ่าตัวตายหรือ suicidal attempt (ขอย่อว่า SA)

2. NSSI พบบ่อยกว่า ความชุกในช่วงชีวิตที่ผ่านมา (lifetime prevalence) อยู่ที่ร้อยละ 20 หมายความว่าในวัยรุ่นและคนหนุ่มสาว 5 คน จะมี 1 คนที่เคยทำร้ายตัวเอง (นับตั้งแต่จำได้จนถึงวันที่สำรวจ) ส่วน SA นั้นพบเพียงร้อยละ 7

3. NSSI มักเริ่มทำในอายุน้อย ส่วนใหญ่คือ 13-14 ปี และใช้วิธีรุนแรงน้อยกว่า เช่น ใช้คัตเตอร์ กรีดที่ท้องแขนแบบไม่ลึก เลือดออกซิบๆ เท่านั้น ส่วน SA พบในอายุมากกว่าและ ใช้วิธีการรุนแรงกว่า

4. NSSI มีเป้าหมายเพื่อลดความรู้สึกตึงเครียดทางอารมณ์และความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น ใน SA เป้าหมายคือ เพื่อจบชีวิตตัวเอง จะได้ไม่ต้องรู้สึกอะไรอีก
ข้อสำคัญคือ
ถ้ามี NSSI บ่อยๆ ก็จะมีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะกลายเป็น SA

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้

❎สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้คือ พฤติกรรมทั้งสองแบบนี้มักมีปัจจัยเอื้อบางอย่าง ที่พบบ่อยคือ ความขัดแย้งในครอบครัว การเคยถูกทำร้ายทางกายหรือทางเพศมาก่อน เคยประสบเหตุการณ์รุนแรงสะเทือนขวัญ และการใช้สารเสพติด

หากพบว่าลูกทำร้ายตัวเอง คุณควรทำอย่างไร?


1 ตกใจได้ แต่อย่าสติแตก
2 อย่าโกรธ
3 ใจเย็น สงบ
4 อย่าพูดท้าทาย เช่น “ทำไมไม่ทำให้ตายซะเลยล่ะ?” “ทำตัวเองแท้ๆจะไปโทษใคร!” อะไรทำนองนี้ คำพูดแบบนี้ไม่ควรพูด
5 ให้กำลังใจลูก
6 รับฟังลูก ให้ลูกเล่าความรู้สึกแย่ๆออกมา
7 ควรไปพบจิตแพทย์ จะได้ประเมินอย่างชัดเจนว่ามีปัญหาอื่น โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ร่วมด้วยไหม จะได้ให้การรักษาที่ถูกต้อง
8 ข้อสำคัญคือแก้ไขความขัดแย้งในครอบครัว
“บ้าน” จะต้องเป็นที่ให้กำลังใจลูก ไม่ใช่สนามรบ ที่มีแต่ความขัดแย้งและความทุกข์
9 สอนวิธีจัดการกับปัญหาหรือแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น
10 สอนเทคนิคลดอารมณ์หรือความกดดันของตัวเอง (self-soothing) ข้อนี้ค่อยเล่าคราวหน้าค่ะ

🔴แนะนำให้อ่านหนังสือ “สร้าง EQ ให้ลูกคุณ” และ “สร้างชีวิตใหม่” จะได้จัดการอารมณ์ และปัญหาในชีวิตได้ดีขึ้น
และเรียนบทเรียนออนไลน์ หลักสูตรออนไลน์ เลี้ยงลูกใหม่ปั้นให้ดี (20 บทเรียน)

Similar Posts