ปัญหาพิเศษ สมาธิสั้น ออทิสติก พัฒนาการช้า ฯลฯ

สมาธิสั้น ลูกไม่มีสมาธิในการเรียน

ลูกไม่มีสมาธิ

โรคสมาธิบกพร่อง หรือ ADHD (Attention deficit hyperactivity disorder) เป็นความผิดปกติในการทำงานของสมอง โดยสมองส่วนหน้า (frontal lobe) ที่ควบคุมสมาธินั้นมีลักษณะ “ล้าง่าย” ไม่สามารถตั้งสมาธิและจดจ่อได้นานพอ

ลูกไม่มีสมาธิ ปัญหานี้พบบ่อยแค่ไหน?

ในเด็กชั้นประถม อาการไม่มีสมาธิพบได้บ่อยมาก ในชั้นเรียนที่มีเด็กผู้ชายล้วน บางครั้งเด็กเกินกว่าครึ่งห้องอาจไม่มีสมาธิหรืออยู่ไม่สุข แต่ไม่ใช่ทุกรายที่จะเป็นโรคสมาธิบกพร่อง การวิจัยพบว่า เพียงร้อยละ 3-10 ของเด็กวัยเรี่ยนเท่านั้น
ที่จะเป็นโรคสมาธิบกพร่อง และเด็กชายจะเป็นมากกว่าเด็กหญิงในอัตรา 3:1

สาเหตุที่ลูกไม่มีสมาธิ

โรคสมาธิบกพร่องมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง การศึกษาโดยเอ๊กซเรย์พิเศษที่เรียกว่า PET scan พบว่า การทำงานของสมอง (brain activity) ในเด็ก ADHD น้อยกว่าสมองของเด็กปกติ และเมื่อให้ยา การทำงานของสมองก็จะกลับมาเป็นปกติ

อาการสำคัญของลูกไม่มีสมาธิ

อาการของโรค แบ่งออกเป็น 3 ด้านใหญ่ๆ คือ

1. ไม่มีสมาธิ (inattention)

เด็กจะไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย ใจลอย ทำงานไม่เสร็จ เปลี่ยนกิจกรรมบ่อยๆ ไม่ได้ยินเวลาคนพูดด้วย ขี้ลืมและทำของหายบ่อยๆ

2. อยู่ไม่นิ่ง (hyperactive)

เด็กจะนังนิงๆไม่ได้ ขยุกขยิกตลอดเวลา นั่งอยู่กับที่ได้ไม่นาน ซนมากเกินไป เล่นเสียงดัง และพูดมาก

3. ขาดความยับยั้งชั่งใจ (impulsive)

เด็กจะมีความอดทนน้อย ผลีผลามทำอะไรโดยไม่คิด พูดโพล่งหรือขัดจังหวะคนอื่น รอคอยไม่ได้ และบางครั้งอาจมี
อุบัติเหตุบ่อย
เด็กบางคนอาจมีอาการทั้งสามข้อ แต่บางคนอาจมีเพียงข้อเดียวคือไม่มีสมาธิ หรือมี 2 ข้อคือ ไม่มีสมาธิกับอยู่ไม่นิ่งเท่านั้นลักษณะหนึ่งที่ทำให้ผู้ปกครองเข้าใจผิดคือ ลักษณะที่เรียกว่า performance inconsistency คือ ผลงานของเด็กจะขึ้นๆลงๆ บางครั้งจะทำงานได้ดีมาก แต่บางครั้งจะทำได้ไม่ดีเลย จนทำให้ผู้ใหญ่เข้าใจว่าเด็กไม่ได้เป็นโรคอะไร เพียงแต่ขี้เกียจหรือไม่ตั้งใจ และดุด่าว่ากล่าวเด็ก เช่น “พ่อรู้ว่าลูกทำได้ แต่ไม่ยอมทำ”

สมาธิของเด็กมักจะขึ้นๆลงๆ คือจะมีสมาธิต่อสิ่งเร้า (stimulus) ที่เข้มชันน่าสนใจหรือที่ตนชอบ ดังนั้นเด็กจะเล่นเกมคอมพิวเตอร์หรืออ่านหนังสือการ์ตูนได้นานมาก เพราะเกมเป็นสิ่งเร้าที่เข้มข้น และการ์ตูนเป็นสิ่งที่เด็กชอบ แต่กับสิ่งเร้า
ที่อ่อนหรือไม่น่าสนใจ เช่นหนังสือเรียน หรือเสียงครูสอน เด็กจะไม่มีสมาธิจดจ่อเลยหรือมีน้อยมาก

วิธีการรักษาลูกไม่มีสมาธิ


ในเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิบกพร่อง ควรได้รับการรักษาอย่างจริงจัง การรักษาที่สำคัญมี 3 วิธีคือ

1. การปรับพฤติกรรม
2. การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม

ลูกของคุณมีอาการแบบนี้หรือไม่?

  • นั่งนิ่งๆไม่ค่อยได้ มักขยุกขยิก ขยับตัวไปมา
  • ลุกไปมา นั่งกับที่นานๆไม่ได้
  • วอกแวกง่ายหรือสมาธิสั้น
  • อดทนรอไม่ค่อยได้
  • ชอบพูดโพล่ง หรือพูดขัดจังหวะคนอื่น
  • ทำงานไม่ค่อยเสร็จ ทำช้าหรือทำไม่เรียบร้อยไม่มีสมาธิในการทำงาน เหม่อลอย
  • เปลี่ยนกิจกรรมหรือเปลี่ยนของเล่นบ่อยๆ
  • เล่นเงียบๆไม่ค่อยได้
  • พูดมาก
  • ชอบพูดขัดจังหวะคนอื่น
  • มีลักษณะเหมือนไม่ตั้งใจฟัง เวลาคุณพูดด้วย
  • ขี้ลืม
  • ชอบทำของหาย
  • มีอุบัติเหตุบ่อย เช่นหกล้ม ตกเก้าอี้ วิ่งชนสิ่งของ
  • หงุดหงิดง่าย อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย

    หากมีอาการเหล่านี้หลายข้อ โอกาสที่จะเป็นโรคสมาธิบกพร่องก็ค่อนข้างมาก ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ดู แต่หากมีอาการไม่กี่ข้อ คุณอาจฝึกให้ลูกมีสมาธิด้วยตนเองก่อนก็ได้

3. การใช้ยา


การวิจัยพบว่า การรักษาโดยผสมผสานทั้ง 3 วิธี (multimodal treatment)
เป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดในเด็กที่มีอาการมาก ส่วนเด็กที่มีอาการน้อยหรือมีอายุน้อย เช่นวัยอนุบาล การปรับพฤติกรรมอย่างเดียวก็มีประสิทธิภาพพอยาที่ให้เด็กที่เป็นโรคสมาธิบกพร่อง ไม่ใช่ยากล่อมประสาทหรือยากระตุ้นประสาท แต่เป็นยากระตุ้นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมสมาธิให้ทำงานดีขึ้นและช่วยให้เด็กควบคุมตนเองได้มากขึ้น

หากได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม เมื่อโตขึ้นเด็กส่วนใหญ่จะอาการดีขึ้น สามารถตั้งสมาธิ ควบคุมตนเองและเรียนหนังสือได้ดีขึ้น แต่หลายคนอาจจะมีปัญหาอยู่ ทั้งนี้เพราะการเรียนในระดับสูงจะต้องใช้ทักษะการวางแผน การคิดวิเคราะห์และจัดระเบียบข้อมูลต่างๆ ซึ่งถ้าขาดสมาธิแล้ว เด็กมักจะทำได้ไม่ดีรายละเอียดในการรักษาเด็กที่เป็นโรคสมาธิบกพร่อง
กรุณาอ่านเพิ่มเติมในหนังสือ “สร้างสมาธิให้ลูกคุณ”

อ่าน โรคสมาธิสั้นรักษาหายไหม

Similar Posts