ปัญหาพิเศษ สมาธิสั้น ออทิสติก พัฒนาการช้า ฯลฯ

ลูกคุณเป็นเด็กออทิสติกหรือเปล่า?

เด็กออทิสติก

หลักสำคัญในการช่วยเหลือเด็กออทิสติกคือ ยิ่งเร็ว ยิ่งดี นั่นหมายความว่า ยิ่งวินิจฉัยเร็ว ก็ยิ่งช่วยเหลือได้เร็วยิ่งช่วยเหลือได้เร็ว ผลลัพธ์ก็จะยิ่งดี

การช่วยเหลือหรือแก้ไขเด็กออทิสติกมีความสำคัญอย่างไร?


การวินิจฉัยว่าเด็กมีภาวะออทิสซึมมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเมื่อสามารถระบุได้ว่าเด็กมีความผิดปกติเร็วเท่าใด ก็จะสามารถนำเด็กเข้ารับการรักษาหรือบำบัดได้เร็วขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ตามศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ ทั้งนี้ การวินิจฉัยเด็กออทิสติกควรเริ่มตั้งแต่อายุ 2 ขวบ โดยมีงานวิจัยบางฉบับได้แนะนำว่าการคัดกรองจะมีประโยชน์เมื่อเด็กมีอายุ 18 เดือน หรือเด็กกว่านั้น โดยมี 2 ขั้นตอน คือ

  1. ขั้นตอนแรก การคัดกรองแบบทั่วไป คือ การตรวจสุขภาพของเด็กโดยกุมารแพทย์ ขั้นตอนนี้จะแสดงถึงปัญหาทางด้านพัฒนาการของเด็ก
  2. ขั้นตอนที่สอง คือ การประเมินโดยทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งขั้นตอนนี้เด็กจะถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะออทิสซึมหรือไม่

    เมื่อทราบว่าเด็กมีภาวะออทิสซึม การใช้โปรแกรมการช่วยเหลือแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน ร่วมกับการรักษาโดยการให้ยา จะช่วยบรรเทาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก และช่วยเพิ่มความสามารถของเด็กเพื่อการเติบโตและเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้ ซึ่งเทคนิคที่เป็นที่นิยมที่สุดสำหรับใช้แก้ไขปัญหาเด็กออทิสติกคือการวิเคราะห์พฤติกรรมประยุกต์ หรือ ABA (Applied Behavior Analysis) อันเป็นเทคนิคการปรับพฤติกรรมที่มีจุดมุ่งหมายในการซ่อมแซมพฤติกรรมไม่พึงประสงค์และการเสริมแรงพฤติกรรมใหม่ เช่น การเรียนรู้ที่จะพูด เล่น และตอบสนอง รวมถึงการลดพฤติกรรมบางอย่างลง

ลูกจะมีโอกาสดี หากลูกได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เร็วโดยเฉพาะ ในช่วงอายุ 2-3ขวบ ดังนั้นคุณจะต้องหัดสังเกตว่าลูกของคุณผิดปกติหรือไม่ มีพฤติกรรมใดบ้าง ไหมที่บ่งบอกว่าลูกมีปัญหา..

สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำ

  • มีความรู้เรื่องพัฒนาการปกติของเด็ก
  • หัดสังเกตลูก
  • หากพบว่าลูกมีพฤติกรรมแปลกไปจากเด็กทั่วไป
  • ปรึกษาแพทย์ทันที

ปัญหาที่พบบ่อยๆ คือ พ่อแม่ไม่รู้ว่าพัฒนาการที่ปกติเป็นอย่างไร เมื่อลูกมีบางอย่างที่ผิดปกติ พ่อแม่ก็ไม่รู้และไม่ได้พาลูกมาพบแพทย์

อย่าคิดว่า “ไม่เป็นไร”


พ่อแม่บางคนรู้ว่าลูกมีบางอย่างที่แตกต่างไปจากเด็กทั่วไป แต่ก็นิ่งนอนใจคิดว่า “เดี๋ยวคงหายเอง” เช่น ลูกอายุ 2 ขวบแล้วยังพูดไม่ได้ก็คิดว่าพอ 3 ขวบก็คงพูด ได้เอง รอไปอีกหน่อยก็แล้วกัน แต่ปรากฏว่าพอ 3 ขวบแล้วก็ยังพูดไม่ได้

เมื่อพาลูกมาหา แพทย์ก็ตรวจพบว่าเด็กมีประสาทหูผิดปกติบ้าง เป็นออทิสติกหรือมีภาวะปัญญาอ่อนบ้างและลูกก็ได้รับการบำบัดรักษาช้าเกินไป เป็นการเสียเวลาและเสียโอกาสที่ดีของลูก การสูญเสียโอกาสที่จะพัฒนาไปได้ตามขั้นตอนนั้นเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะ การพัฒนาความสามารถของเด็กเป็นเสมือนขั้นบันได

ขั้นแรกจะนำขึ้นไปสู่ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 2 ก็นำขึ้นไปสูขั้นที่ 3 สูงขึ้นไปเรื่อยๆ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็และหากความ คือ ความสามารถที่ซับซ้อนนั้น มาจากความสามารถพื้นฐานที่ง่ายๆ ไม่ได้รับการพัฒนาไปแล้วก็เป็นการยากที่เด็กจะทำสิ่งที่ยากขึ้นหรือสลับซับซ้อนมากขึ้นได้

พัฒนาการปกติเป็นอย่างไร?


ตารางข้างล่างนี้เป็นพัฒนาการปกติของเด็ก หากลูกทำไม่ได้ตามกำหนด คุณควรพาลูกไปพบแพทย์ (ควรเป็นจิตแพทย์เด็กหรือกุมารแพทย์) เด็กบางคนอาจพัฒนาช้าไปเล็กน้อย แต่ไม่ได้มีอะไรผิดปกติ แต่ในเด็กอีกหลายคนความ “ช้า” นั้นเป็น สัญลักษณ์ที่บอกว่ามีปัญหาบางอย่าง

อายุสิ่งที่เด็กควรทำได้
4-6 สัปดาห์ยิ้มให้แม่
3-4 เดือนหันศีรษะไปตามเสียง
จับวัตถุที่คุณวางให้ในมือ
5 เดือนคว้าของที่เห็น
6-7 เดือนเปลี่ยนของจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง
เคี้ยวอาหารได้
นั่งเอามือยันไว้ข้างหน้า
เวลานอนคว่ำจะยกศีรษะขึ้นได้เอง
ถือขนมกินเอง
9-10 เดือนชี้ด้วยนิ้วชี้
คลาน
เล่นจ๊ะเอ๋ บ๊ายบาย
ให้ความร่วมมือเวลาแต่งตัว เช่น
ชูมือขึ้นเพื่อใส่เสื้อ ยื่นเท้าให้ใส่รองเท้า
13 เดือนเดินได้เอง
พูดคำเดี่ยวๆ ได้ 2-3 คำ
15 เดือนหยิบถ้วยขึ้นมาดื่มน้ำเอง
18 เดือนบอกเมื่อจะฉี่
21-24 เดือนพูดเป็นวลี (2-3 คำติดกัน)
2 ปีไม่ปัสสาวะราดตอนกลางวัน
3 ปีไม่ปัสสาวะราดตอนกลางคืน
แต่งตัวเอง
ยืนขาเดียวได้ชั่วครู่

เด็กออทิสติกส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวปกติ สิ่งที่ผิดปกติมักเป็นพัฒนาการทางสังคมและภาษา เช่น ไม่ยิ้ม ไม่เล่นจ๊ะเอ๋หรือบ๊ายบาย ไม่พูด ฯลฯ หากพัฒนาการโดยรวมช้าไปหมด เด็กมักจะมีภาวะปัญญาอ่อน
(mental retardation) มากกว่า

สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กออทิสติกใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปรกติมากที่สุดคือ การให้ความรู้แก่พ่อแม่ ครอบครัว และคนในสังคม รวมถึงการมีหลักสูตรสำหรับเด็กออทิสติกที่เน้นไปที่ภาษาและการสื่อสาร ทักษะการอ่าน เช่น ตัวอักษร และการนับเลข ทักษะการเรียนรู้ เช่น การแสดงบทบาทสมมติ หรือการพิจารณาถึงความต้องการของผู้อื่น ทักษะทางสังคม เช่น การให้ความสนใจกับผู้อื่น และการแบ่งปัน ทักษะในการดำรงชีวิตประจำวันและการช่วยเหลือตัวเอง เช่น การแต่งตัว หรือกวาดบ้าน รวมถึงการสอนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ความก้าวร้าว และความโกรธเคือง ซึ่งล้วนเป็นพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิตต่อไปในภายภาคหน้า

แนะนำอ่านหนังสือ “ช่วยลูกออทิสติก” คู่มือสำหรับพ่อแม่ เพื่อคุณจะได้มีความเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับโรคออทิสติก และที่สำคัญคือเพื่อคุณจะได้รู้หลักการสำคัญในการช่วยเหลือลูกของคุณให้พัฒนาขึ้นและมีชีวิตได้ใกล้เคียงกับเด็กปกติ พร้อมด้วยเทคนิคกระตุ้นพัฒนาการลูกซึ่งจากการวิจัยพบว่าเป็นวิธีช่วยเหลือที่ดีที่สุดเพื่อให้เด็กได้มีทักษะการสื่อสารและสังคมดีขึ้น
(ตอนนี้หนังสือหมดแล้ว มีเป็น E-Book นะคะ สนใจสั่งซื้อ คลิกที่นี่เลย!)

Similar Posts