เมื่อลูกโตขึ้นจะเป็นอย่างไร? มาเป็นหมอเดากันหน่อย

เด็กชายคนหนึ่ง พ่อแม่ทำธุรกิจ งานยุ่งทั้งวัน ไม่มีเวลาให้ลูก มักปล่อยไว้กับพี่เลี้ยง พอขึ้นม.1 ก็ส่งไปโรงเรียนประจำ พอขึ้นม. 4 ก็ส่งไปเรียนไฮสคูลที่ต่างประเทศ เรียนจบมหาวิทยาลัยก็ทำงาน มีแฟน แต่งงาน ตอนนี้อายุ 38 ปีมีลูก 2 คน
ลองเป็นหมอเดาซิว่าภรรยาของเขามาปรึกษาอาจารย์ด้วยเรื่องอะไร?
ก. เฉยเมย ไม่สนใจไม่เข้าใจความรู้สึกของภรรยา ชอบอยู่คนเดียว
ข. ขี้หึง โมโหโวยวายเวลาเธอกลับค่ำ หรือโทร.คุยกับเพื่อนร่วมงานผู้ชาย
ค. ไม่ช่วยเลี้ยงลูก วันๆทำแต่งาน
ง. ไม่ค่อยให้เวลาครอบครัว ว่างทีไรก็ไปขลุกอยู่กับก๊วนเพื่อน
จ. เจ้าชู้ มีกิ๊กหลายคน
มาลองเป็นหมอเดากันหน่อย
เดาถูกป่ะล่ะ?

คำตอบเมื่อลูกโตขึ้นจะเป็นอย่างไรคือ เป็นได้ทุกข้อ
มีคนเดาถูกเยอะมาก เก่งจริงๆ! ดูที่เพื่อนๆตอบได้ที่เพจปั้นใหม่
ก. เฉยเมย ไม่สนใจความรู้สึกของภรรยา ชอบอยู่คนเดียว
อธิบาย: อันนี้เป็น reaction ปิดบังความเจ็บปวดของการถูกทอดทิ้ง การไม่มีใครรัก โดย “ฉันไม่รู้สึก ” และ “ฉันไม่ต้องการใคร” เมื่อไม่รู้สึกไม่ต้องการ ก็ไม่เจ็บปวด ไม่มีใครทำร้ายฉันได้
ข.ขี้หึง โมโหเวลาเธอกลับค่ำ หรือโทร.คุยกับเพื่อนผู้ชาย
อธิบาย: เติบโตมาอย่างขาดรัก อาจกลายเป็นโหยหาความรัก ต้องการเป็นเจ้าของและกลัวการสูญเสีย
ค. ไม่ช่วยเลี้ยงลูก วันๆทำแต่งาน
อธิบาย: ไม่เคยเห็นแบบอย่างของ “พ่อ” ไม่รู้ว่าเป็นพ่อที่ดี ต้องทำอย่างไร
ความสำเร็จในหน้าที่การงานเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่าตนเองมีคุณค่าสำหรับคนที่ถูกเลี้ยงดูมาแบบนี้
ง. ไม่ค่อยให้เวลาครอบครัว ว่างทีไรก็ไปขลุกอยู่กับก๊วนเพื่อน
อธิบาย: ครอบครัวของผู้ชายคนนี้คือเพื่อนฝูงเพราะเติบโตมากับหอพัก แม้มีครอบครัวของตัวเองแล้ว ก็ต้องหวนกลับไปสู่ความเคยชินเดิมๆ เคสแบบนี้มีจริง ลงเอยด้วยภรรยาและลูกกลายเป็นโรคซึมเศร้า
จ. เจ้าชู้ มีกิ๊กหลายคน
อธิบาย: เพราะโหยหาความรักก็เลยแสวงหาความรักจากคนหลายคน ในทางตรงกันข้าม เพราะรักใครไม่เป็น ก็เลยเพียงแค่มีสัมพันธ์แบบฉาบฉวยกับผู้หญิงหลายคนและไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับภรรยาได้
จะเห็นได้ว่า วิธีการเลี้ยงดูแบบหนึ่งอาจให้ผลลัพธ์หลายแบบ (multiple outcomes) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะบุคลิกภาพ การเรียนรู้ว่าตนเองต้องทำอย่างไรจึงจะเอาตัวรอดได้ (coping /survival mechanism) ซึ่งในที่สุดจะกลายเป็นวิธีการปรับตัวหรือวิธีการใช้ชีวิตที่ตกผลึกในคนผู้นั้น
อยากเลี้ยงลูกให้ดี ไม่ให้เกิดปัญหา ต้องมีเวลาให้ลูก แต่ต้องเป็นเวลาที่มีคุณภาพด้วยนะ
ขอแนะนำให้ เรียนหลักสูตรออนไลน์ “เลี้ยงลูกใหม่ปั้นให้ดี”
ปัญหาชีวิตคู่แบบนี้ ถ้าอยากแก้ให้ดี แนะนำให้เรียนหลักสูตรออนไลน์ “ติวเข้มชีวิตคู่” เปิดเร็วๆนี้ คอยติดตามนะคะ