โรคสมาธิสั้นรักษาหายไหม? (ตอนที่ 1)

โรคสมาธิสั้นรักษาหากไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อย ขาดความภาคภูมิใจและความมั่นใจในตนเอง คิดว่าตัวเองมีปมด้อย ไม่เก่ง ไม่ดีเหมือนคนอื่น ความรู้สึกนึกคิดเช่นนี้จะทำให้เด็กต่อต้านสังคม ก้าวร้าว ทำตัวผิดระเบียบ บางคนอาจถึงขั้นหันไปใช้ยาเสพติดเพื่อชดเชยความรู้สึก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก ซึ่งการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้
- โรคสมาธิสั้นรักษาได้แต่อาจต้องใช้เวลาในการรักษา
- โรคสมาธิสั้นรักษาได้ด้วย เทคนิคดูแลลูกสมาธิสั้น ดังนี้..
- ลด สิ่งเร้า
- 1. แต่งบ้านให้เรียบง่าย
- 2. จัดบ้านให้เรียบร้อย
- 3. จัดสถานที่เงียบๆ ให้ลูกทำงาน
- 4. ของเล่น เก็บของเล่นของเด็กใส่ตู้หรือกล่องให้เรียบร้อย
- 5. หัดให้ลูกมีกิจกรรมอย่างเงียบๆ บ้าง
- 6. พยายามให้ลูกอยู่ในบรรยากาศที่มีสิ่งกระตุ้นน้อยที่สุด
- 7. มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอย่างสงบ
- 8. ลดการไปเที่ยวในสถานที่ซึ่งมีผู้คนพลุกพล่าน
- 9. จำกัดเวลาดูโทรทัศน์
โรคสมาธิสั้นรักษาได้แต่อาจต้องใช้เวลาในการรักษา
การรักษาโรคสมาธิสั้นอาจต้องใช้เวลาในการรักษาตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งถึงวัยผู้ใหญ่ซึ่ง โรคสมาธิสั้นในวัยผู้ใหญ่ นอกจากจะได้รับการรักษาโดยยาแล้ว การรู้จักและยอมรับตนเองว่าเป็นโรคสมาธิสั้นและพยายามจัดระเบียบให้กับตนเองก็เป็นสิ่งสำคัญในการรักษา ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำงานได้ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและอาจจะมีโอกาสได้แสดงความสามารถพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกมาก็ได้
เพราะคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีสติปัญญาปกติ จนถึงดีเลิศ ตัวอย่างบุคคลสำคัญที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ โมสาร์ท นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่ โทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้ที่สามารถคิดค้นการทำงานของหลอดไฟที่ใช้กันในปัจจุบัน หรือแม้กระทั่ง อับบราฮัม ลินคอร์น ผู้ที่ยกเลิกระบบทาสในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ บุคคลเหล่านี้ล้วนมีประวัติว่าเป็นโรคสมาธิสั้นทั้งสิ้น แต่พวกเขาเหล่านี้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเขาสามารถแสดงศักยภาพที่โดดเด่นของเขาออกไปทั่วโลก
ดังนั้น สมาธิสั้นรักษาได้ โดยเฉพาะการรักษาที่เริ่มตั้งแต่ในวัยเด็กจะช่วยเหลือให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ และครู ร่วมมือกับแพทย์ผู้รักษา ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และพยายามทำความเข้าใจอาการของโรค ทำความเข้าใจเด็ก ลดทัศนคติที่ไม่ดี และลดคำตำหนิติเตียน รวมถึงการให้กำลังใจ ให้ความสำคัญแก่เด็ก ส่งเสริมให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเอง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้
นอกจากการร่วมมือช่วยเหลือกันระหว่างพ่อแม่และครูแล้ว ความเข้าใจของบุคคลในสังคมก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากเราจะช่วยเหลือเด็กแล้วเรายังช่วยเหลือครอบครัวของเขาด้วย แล้วอาจจะส่งผลทำให้เด็กบางคนได้แสดงความสามารถพิเศษของเขาออกมา เขาอาจจะมีความสามารถโดดเด่นเช่น โมสาร์ทหรือบุคคลสำคัญอื่นๆ ก็เป็นได้ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคตด้วย
โรคสมาธิสั้นรักษาได้ด้วย เทคนิคดูแลลูกสมาธิสั้น ดังนี้..
การปรับพฤติกรรมหรือที่เรียกว่า Behavior management นั้นหมายถึง การบำบัดรักษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กอย่างเป็นระบบ เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้นการปรับพฤติกรรมของเด็กจะต้องมีการวางแผนให้เหมาะสมเป็นรายๆ ไป โดยการวิเคราะห์พฤติกรรมของเด็กและการตอบสนองของพ่อแม่โดยละเอียด ให้คำแนะนำอย่างชัดเจนและติดตามเป็นระยะๆ ว่า แผนการปรับพฤติกรรมที่นำไปใช้นั้นได้ผลหรือไม่เพียงใด และจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างใดบ้าง
แม้ว่าการปรับพฤติกรรมของเด็กที่เป็น ADD แต่ละคนจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปบ้าง
แต่โดยทั่วไปจะมีหลักสำคัญดังต่อไปนี้
- ลด สิ่งเร้า
- เพิ่ม สมาธิ
- เพิ่ม การควบคุมตนเอง
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงเทคนิคเชิงปฏิบัติบางประการที่ได้ผลดีและทำได้ไม่ยาก แม้จะเน้นสำหรับเด็กที่เป็น ADD ก็ตาม แต่เทคนิคทั้งหมดนี้สามารถใช้ได้ในเด็กทั่วไปด้วย ถ้าใช้เทคนิคเหล่านิ้ในเด็กปกติ เด็กก็จะมีสมาธิดียิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น..
ลด สิ่งเร้า
แม้โรค ADD เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม แต่สภาพแวดล้อมก็เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง หากสังเกตให้ดีจะพบว่า เมื่อสภาพแวดล้อมสงบ ไม่มีสิ่งกระตุ้นมาก เช่น ห้องที่จัดเรียบร้อยไม่มีสิ่งของเกะกะ หรือของเล่นมากมาย เด็กจะสามารถตั้งสมาธิได้ดีขึ้น หรือห้องเรียนที่มีนักเรียนน้อย เช่น 10-20 คน เด็กจะตั้งสมาธิได้ดีกว่าห้องเรียนที่มีนักเรียน 50 คนเป็นต้น
1. แต่งบ้านให้เรียบง่าย
บ้านและโดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องของเด็ก ควรจัดให้เรียบที่สุด ผนังไม่
ควรมีสีฉูดฉาด และไม่ควรมีลวดลาย (อย่าติดวอลล์เปเปอร์ที่มีลวดลาย) ไม่ควรมีเครื่องประดับห้อยแขวนมากมาย
2. จัดบ้านให้เรียบร้อย
3. จัดสถานที่เงียบๆ ให้ลูกทำงาน
การจัดหาสถานที่เหมาะสมให้เด็กทำการบ้านเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เด็กควรมีห้องที่สงบไม่มีการรบกวนจากผู้อื่น จากเสียงโทรทัศน์ หรือเสียงวิทยุทั้งนี้เพื่อช่วยให้เด็กมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น หากไม่มีห้องเฉพาะก็อาจจัดโต๊ะของเด็กไว้ที่มุมห้องและหาบังตาที่ผนังมากั้น โต๊ะเรียนของเด็กก็ไม่ควรมีสิ่งของเกะกะ เช่น หนังสือการ์ตูน ของเล่น เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กวอกแวก โต๊ะเรียนควรมีเฉพาะสมุดเครื่องเขียนที่จำเป็นเท่านั้น
4. ของเล่น เก็บของเล่นของเด็กใส่ตู้หรือกล่องให้เรียบร้อย
อย่าวางเพ่นพ่าน เมื่อจะเล่นก็ให้เอาเฉพาะของเล่นที่ต้องการเล่นออกมา เล่นเสร็จแล้วก็เก็บไว้ตามเดิม
อย่าซื้อของเล่นให้มากเกินไป
5. หัดให้ลูกมีกิจกรรมอย่างเงียบๆ บ้าง
เช่น ยามพักผ่อน ควรมีโอกาสนั่งเล่นเงียบๆ บ้าง อย่าเปิดวิทยุ โทรทัศน์ค้างไว้ หรืออยู่ในที่ซึ่งมีคนพลุกพล่านตลอดเวลา เมื่อถึงเวลาที่จะเข้านอน ก็ไม่ควรเปิดโทรทัศน์จนหลับไป ควรให้หลับในห้องที่เงียบหรืออาจเปิดเพลงเบาๆ ฟังก็ได้
6. พยายามให้ลูกอยู่ในบรรยากาศที่มีสิ่งกระตุ้นน้อยที่สุด
นอกเหนือไปจากเวลาทำการบ้านแล้ว ในชีวิตประจำวัน ควรพยายามให้ลูกได้อยู่อย่างสงบเงียบบ้าง เช่น หัดให้ลูกนั่งเล่นในสนามหญ้าที่เงียบๆ หรือหาโอกาสออกไปพักผ่อนในที่สงบ เช่น ตามชนบทที่สงบเงียบ นั่งปิคนิคได้ต้นไม้ ที่ปราศจากผู้คนพลุกพล่าน การได้ใกล้ชิดธรรมชาติจะช่วยให้ระบบประสาทผ่อนคลายไม่ตึงเครียดเกินไป
7. มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอย่างสงบ
พยายามพูดคุยกับเด็กด้วยเสียงเบา อย่าตะโกนโหวกเหวก โวยวาย หากครอบครัวมีคนหลายคน
ควรให้เด็กได้มีโอกาสอยู่อย่างสงบบ้าง
8. ลดการไปเที่ยวในสถานที่ซึ่งมีผู้คนพลุกพล่าน
เช่น ศูนย์การค้า หรือโรงภาพยนตร์ เพราะสถานที่ดังกล่าวมีสิ่งเร้ามากเกินไป เด็กจะถูกกระตุ้นมาก
และเกิดอาการตื่นตัว ซน อยู่ไม่นิ่ง และควบคุมได้ยาก
9. จำกัดเวลาดูโทรทัศน์
ภาพและเสียงในโทรทัศน์เป็นสิ่งกระตุ้นที่เข้มข้น การดูโทรทัศน์ที่มากเกินไป ทำให้เด็กได้รับการกระตุ้นมากและนานต่อเนื่องซึ่งจะทำให้สมองล้าและสมาธิต่อสิ่งอื่นจะแย่ลง นอกจากนี้ภาพที่เด็กเห็นในโทรทัศน์ก็มักมีความก้าวร้าวรุนแรง เด็กอาจเลียนแบบพฤติกรรมดังกล่าวได้ ดังนั้นคุณควรกำหนดเวลาดูโทรทัศน์ให้พอเหมาะ พร้อมทั้งเลือกรายการที่ดีๆ เช่น สารคดี หรือรายการเกี่ยวกับธรรมชาติ ให้ลูกได้ดูด้วย
อ่านบทความ โรคสมาธิสั้นรักษาหายไหม? (ตอนที่ 2) ต่อ คลิก!
แนะนำหนังสือ “สร้างสมาธิให้ลูกคุณ” และหลักสูตรออนไลน์ “ดูแลลูกสมาธิสั้น”