20 เทคนิคดูแลลูกสมาธิสั้น ดูแลวัยรุ่นสมาธิสั้น
💡 นึกถึงพ่อแม่คู่หนึ่ง ที่ทุกครั้งพอเดินเข้ามาในห้องตรวจ คำแรกที่พูดก็คือ “เหนื่อยสุดๆเลย” บ้าง “หมดแรงแล้ว” บ้าง ที่พูดเช่นนี้เพราะว่าลูกชายเป็นโรคสมาธิสั้น แบบปานกลางค่อนไปทางรุนแรง ⚡️
วันนี้เลยอยากให้ของขวัญพ่อแม่ที่ต้องทำงานเหนื่อยในการเลี้ยงลูกที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) โดยเฉพาะเมื่อลูกไฮเปอร์แอคทีฟและเริ่มเข้าวัยรุ่น
🔥 20 ข้อนี้เป็นเพียงหลักการในการเลี้ยงดูและซัพพอร์ต
- เปลี่ยนสไตล์การเลี้ยงลูกสักนิด จากวิธีบังคับควบคุมหรือตามใจมากเกินไป มาเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่ต้องมีอำนาจปกครองอย่างเหมาะสม (authoritative parenting) ไม่ใช่แบบเผด็จการ (authoritarian parenting)
- ประเด็นที่มีกับลูกให้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ต่อรองได้และกลุ่มที่ต่อรองไม่ได้
👉🏼 เช่น ประเด็นการกลับบ้าน หากกำหนดว่าช้าสุดไม่เกินสองทุ่ม ก็ไม่ควรให้ลูกต่อรอง
- ให้คำอธิบายในเรื่องที่ต่อรองไม่ได้ว่าเป็นเพราะอะไร ส่วนเรื่องที่ต่อรองได้ ก็ควรให้ลูกมีส่วนในการตัดสินใจมากขึ้นตามอายุ
- ต้องมีผลลัพธ์ของการกระทำ
ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษหรือรางวัลก็ตาม และควรเลือกผลลัพธ์ที่มีน้ำหนักพอที่จะกระตุ้นให้ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ควรใช้วิธีให้รางวัลหรือสิ่งจูงใจก่อนที่จะใช้วิธีลงโทษ - ให้ผลลัพธ์ทันทีหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น ถ้าจะให้รางวัลก็ให้โดยเร็ว ภายใน 1 วันหรือ 1 สัปดาห์ ไม่ใช่รอไปอีก 1 เดือน หรือลงโทษตอนนั้นเลยหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่รอไปหลายวัน
- ให้ feedback ลูกบ่อยๆ
👉🏼 เช่น เมื่อลูกทำได้ดีก็ต้องบอก จงเอ่ยปากชมลูกหรือแสดงการยอมรับในสิ่งดีๆที่ลูกทำ คำชมเป็นรางวัลที่ไม่ต้องจ่ายเงินซื้อ ดังนั้นอย่าขี้เหนียว!
- เสมอต้นเสมอปลายในกฏระเบียบและคำสั่ง ไม่ใช่วันนี้ทำ พรุ่งนี้ไม่ทำ
- อยากจะให้ลูกแก้ไขพฤติกรรมใด จงช่วยลูกจัดการทันที ไม่ใช่เอาแต่บ่นและไม่ทำอะไรจริงจัง
- จัดการปัญหาอย่างใจเย็นและคุมอารมณ์ของคุณให้ได้
- ฝึกให้ลูกดูแลตัวเองและรับผิดชอบตัวเองให้มากขึ้น
- เปิดช่องทางการสื่อสารที่ดีเอาไว้
- สอดส่องพฤติกรรมของลูกขณะที่อยู่นอกบ้านด้วย ควรรู้จักเพื่อนของลูก และรู้ว่าลูกทำอะไรกับเพื่อนบ้าง
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแต่ละอย่างนั้นต้องทำอย่างต่อเนื่องและนานพอ หากทำแค่ช่วงสั้นๆ พฤติกรรมของลูกอาจจะดูเปลี่ยนไปในตอนแรก แต่ในที่สุดจะทำแบบเดิมอีก
- ให้กำลังใจลูก แม้ลูกจะทำได้ไม่ดีเท่าที่คุณคาดหวัง พ่อแม่ต้องเป็นเชียร์ลีดเดอร์ของลูก
- ช่วยลูกค้นหาจุดแข็งของตัวเอง หรือทำจุดแข็งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
- เตือนตัวเองเสมอว่าลูกมีโรค ADHD และมันเป็นโรคจริงๆ ลูกไม่ได้แกล้ง!
- อย่าถือเป็นเรื่องส่วนตัวเมื่อลูกทำให้คุณหัวเสียหรือทะเลาะกัน
- จงยกโทษให้ลูก!
- สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ต้องทำตัวเป็นโค้ช
- คุณจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้และมีเทคนิคที่ดีที่จะโค้ชลูกให้มีสมาธิและคุมตัวเองได้ดีขึ้น
💜 อยากรู้เทคนิคละเอียดศึกษาต่อได้ใน หนังสือ “สร้างสมาธิให้ลูกคุณ”
หลังจากหมดและขาดตลาดไปนาน 🎉 มีเป็น E-Book แล้วน้า! (ฉบับปรับปุรงใหม่)