5 เทคนิคจัดการลูกอาละวาด

พ่อแม่ต้องรับมือยังไงเมื่อลูกอาละวาด
ลูกอาละวาด ลงไปร้องไห้ แหกปาก กรี๊ด ดิ้นกับพื้น คงเป็นโมม้นต์ที่ทำพ่อแม่ปวดหัวเป็นที่สุด ถ้า อาละวาดอยู่ในบ้านยังพอทน แต่บางครั้งลูกดันอาละวาดในที่สาธารณะจนคนรอบข้างหันมามองกันเป็นตาเดียว จนบางครั้งก็ต้องยอมตามใจให้จบ ๆ ไป
อาจจะเพราะกลัวรบกวนคนอื่น หรือสงสารที่เห็นลูกร้องไห้ แต่รู้หรือไม่ว่าการยอมตามใจนั้นจะทำให้ลูกอาละวาดหนักขึ้นกว่าเดิม
การอาละวาดนั้นเป็นวิธีในการสื่อสารเพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจ ในกรณีที่เด็กยังไม่สามารถสื่อสารเป็นคำพูดเพื่อบอกความต้องการได้ อีกทั้งยังไม่รู้จักการจัดการกับอารมณ์ ความโกรธ โดยอาการอาละวาดจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อเด็กถูกกระตุ้นด้วยสิ่งที่ทำให้ไม่พอใจ เช่น โดนปฏิเสธไม่ซื้อของเล่นให้ โดนแย่งแท็บเล็ตคืน โดนบังคับให้ไปอาบน้ำ หรือโดนดุ
เมื่อเด็กมีอารมณ์เสียและมีพฤติกรรมก้าวร้าว สิ่งที่คุณควรจะต้องทำคือการหยุดเด็ก มันมีกระบวนการอยู่ 5 ข้อ
1. พ่อแม่จะต้องเตรียมใจให้ใจเย็น
ไม่อารมณ์เสียไปกับลูกด้วยการที่พ่อแม่ใจเย็นไม่ได้แปลว่าเราบอกเขาว่าพฤติกรรมก้าวร้าวนี้เขา สามารถทำได้
2. คุณจับลูกไว้ แล้วสะท้อนอารมณ์ให้เขารู้ว่าเขารู้สึกอย่างไร?
ถ้าลูกกำลังดึง กำลังตี หรือขว้างของ แล้วบอกกับลูกว่า “แม่รู้ว่าหนูโกรธ”/”พ่อรู้ว่าหนูอึดอัดใจ” ประโยคนี้เป็นประโยคที่ช่วยบอกว่าตอนนั้นอารมณ์ของเด็กตอนนั้นเป็นอย่างไร? เพราะเด็กหลายคนไม่เข้าใจอารมณ์ของตัวเอง หรือไม่ก็รู้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างงี้แต่ไม่รู้เรียกว่าอะไร แล้วก็เล่าออกมาไม่ถูก การที่พ่อแม่เรียกชื่ออารมณ์ที่เขามีอยู่ตอนนั้นจะช่วยให้เขาเข้าใจว่า เขารู้สึกอย่างไร? ทำให้ในอนาคตเขาสามารถที่เรียกความรู้สึกนี้ และบอกเล่าให้คนอื่นฟังได้ การที่เรารู้และบอกเล่าความรู้สึกได้เป็นสิ่งที่จะทำให้เราจัดการกับอารมณ์ของเราได้ดีขึ้น
3. คุณต้องรับฟังความรู้สึกและเรื่องราวของลูก
คุณถามลูกต่อว่า “ไหนลองเล่าให้แม่ฟังสิ ลองบอกพ่อสิมันเป็นอย่างไรไง หนูโกรธเรื่องอะไร” เป็นการสร้างความรู้สึกว่าพ่อแม่รับฟัง พ่อแม่เห็นว่าฉันสำคัญ พ่อแม่รักฉัน การที่คุณรับฟังลูก มันจะทำให้ลูกได้สามารถเล่าเรื่องออกมา
การที่คนเราสามารถเรียบเรียงความรู้สึก ความคิดที่มันยุ่งเหยิงอยู่ในสมองออกมาเป็นคำพูดมันจะช่วยให้เราจัดระเบียบของความคิด และความรู้สึกที่ยุ่งเหยิงอันนั้นได้ ก็จะทำให้มีระเบียบมากขึ้น พอเราเล่าความคิด ความรู้สึกของเราเสร็จ เราจะเกิดความเข้าใจตัวเองมากขึ้น แล้วอารมณ์ที่มันมีมากก็จะสงบลง เพราะการที่คุณรับฟังลูกจะช่วย ให้ลูกจัดการกับความรู้สึกได้ดีขึ้น จัดการกับความโกรธได้ดีขึ้น
4. คุณต้องถามความปรารถ ความคาดหวัง และถามวิธีแก้ปัญหาที่ลูกมี
เมื่อลูกเล่าเรื่องของเขาเสร็จแล้วคุณถามต่อว่า “ลูกคิดว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร? ลูกอยากจะทำอย่างไร? หรือลูกต้องการอะไร?” คำว่าต้องการในที่นี้ก็เหมือนกับว่า เขาต้องการเห็นว่าภาพมันเป็นอย่างไร ในที่สุดการแก้ปัญหาของเขา มันจะเป็นวิธีดีหรือไม่ดีคุณก็รับฟัง “อ๋อ เป็นแบบนี้หรอลูก อ๋อ ลูกอยากให้เป็นอย่างงั้นหรอ” อย่างเช่นกรณีเขาโกรธน้องเขา อยากฆ่าน้องให้ตายเลย แบบกรณีนี้ก็มีนะคะ พ่อแม่ไม่ต้องตกใจเขาไม่ได้อยากฆ่าน้องหรอก
เขาเพียงแต่ไม่พอใจน้องมากๆ และอยากจะบอกเราว่าเขาโกรธน้องแค่ไหน คุณก็ตอบรับเขาว่า “อืมมม” และสะท้อนความรู้สึก “ลูกคงโกรธน้องมากเลย”
อันนี้เป็นเรื่องสำคัญมากเลย ลูกจะได้เปลี่ยนวิธี หรือมองวิธีการแก้ปัญหาอันไม่ค่อยเข้าท่าของเขาเชื่อมโยงเข้ากับความรู้สึกที่เขามี และเขาจะได้รู้ว่า อ๋อจริงๆเขาไม่ได้มีความตั้งใจความประสงค์ร้ายกับน้องหรอก เขาเพียงแต่เขาโกรธ เขาเลยคิดหรือพูดออกมาแบบนี้ เพราะฉะนั้นควรจะถามลูกว่า แล้วลูกอยากทำอย่างไร? ถึงความคิดเขาจะไม่เข้าท่าก็คุณก็อย่าไปค้านเขา
“อุ้ยถ้าลูกจะฆ่าน้อง ลูกก็เป็นฆาตกรน่ะสิ ไม่ดีนะ” ประโยคนีไม่จำเป็นต้องพูดเลย เพราะเดี๋ยวในที่สุดเขาจะรู้เองว่ามันไม่ดี
5. ช่วยลูกคิดถึงทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าเดิม
ถามลูกว่า “แล้วมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้อีกมั้ยลูกที่จัดการกับปัญหานี้ได้” ยกตัวอย่างเช่น ลูกบอกลูกอยากจะฆ่าน้อง ลูกอยากจะต่อยน้องให้น่วมไปเลย อืมพ่อ/แม่ ฟังดูแล้วรู้ว่าหนูโกรธมากมีวิธีอย่างอื่นไหมลูก เพราะดูเหมือนว่าลูกอยากจะฆ่าน้อง ลูกก็จะไม่มีน้องเป็นเพื่อนเล่นอีกแล้วนะ ถ้าลูกต่อยน้องจนเจ็บน่วม พ่อแม่ก็ต้องพาน้องไปโรงพยาบาลให้เวลารักษากันอีก เสียค่ายา พ่อแม่ก็พอหนูไปเที่ยวไม่ได้เพราะต้องโรงพยาบาลดูน้อง อะไรทำนองนี้
ช่วยให้เขาเห็นว่าวิธีแก้ปัญหา สิ่งที่เขาเห็น หรืออยากให้เกิดขึ้น มันไม่ได้ส่งผลดีอะไร มีวิธีดีกว่านี้อีกไหม แล้วคุณก็เสริมความคิดของคุณลงไป อืมพ่อว่าเรื่องนี้เราควรจะแก้ปัญหาแบบนี้ ที่ลูกโกรธเรื่องนี้เราควรจัดการแบบนี้ดีกว่า เวลาคุณทำแบบนี้ คุณกำลังสอนวิธีแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
สรุปก็คือในกระบวนการทั้ง 5 ข้อคือ
คุณไม่ตำหนิ คุณไม่บอกว่างี่เง่า คุณไม่บอกว่านี่มันร้ายกาจ คุณเพียงแค่รับฟังเขา และในที่สุดคุณจะรับรู้ความรู้สึกและเขาจะใจเย็นขึ้น เพราะเขาได้เล่าออกไปหมดแล้ว คุณก็จะสอนวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่าเดิม
ถ้าคุณทำขั้นตอนทั้ง 5 ข้อนี้คุณจะทำให้พ่อแม่รู้สึกว่า คุณเป็นพ่อแม่ที่แคร์เขา คุณรักเขา คุณอุตส่าห์เสียเวลากับเขา การที่คุณฟังเขาแล้วคุณตั้งคำถาม ให้เขาเล่าออกมาจะทำให้ความสึกรู้และความวุ่นวายในสมองของเขาลดลง เขาจะจัดระเบียบความคิด ความรู้สึกของเขาได้ดี เขาจะเข้าใจตัวเองมากขึ้นว่า จริงๆแล้วเขารู้สึกอย่างไรมากขึ้น
ทั้งหมดนี้มันก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากเลย อาจารย์เองก็เรียนรู้วิธีนี้มาจากตอนที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาล Pennsylvania Sweden Hospital of Philadelphia อยู่ในศูนย์จิตเวช ที่บำบัดเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม และอารมณ์ที่รุนแรง และส่งต่อมาที่รัฐต่างๆของอเมริกา ที่นั้นเราทำการรักษาหลักก็คือการบำบัดครอบครัว เราถือว่าการดูแลเด็กให้เติบโตไปแล้วได้ดี พ่อแม่ครอบครัวต้องมีส่วน
และจริงๆปัญหาของเด็กมันมีความเกี่ยวพันกับวิธีการเลี้ยงลูกและความสัมพันธ์ในครอบครัว และคนที่จะแก้ได้ดีที่สุดก็คือพ่อแม่ เราจึงจะพัฒนาพ่อแม่ให้จัดการกับลูกได้ ลองเอาทั้ง 5 ข้อนี้ไปทำดูนะคะ ปัญหาของลูกก็จะลดลง อาจาร์ย์เชื่อว่า เด็กเล็ก ๆ อายุ 10-12 ขวบ เขาไม่จำเป็นจะต้องกินยาแก้เศร้า อย่าแรงๆต้านโรคทางจิตเลย เพียงแต่พ่อแม่รู้เทคนิคในการจัดการ
เพราะเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวช แต่เด็กส่วนใหญ่ขาดการควบคุมอารมณ์ที่ดี เพราะพ่อแม่อาจจะสอนไม่เป็น
อันนี้ไม่ได้โทษพ่อแม่นะคะ แต่การเลี้ยงลูกไม่ใช่งานที่ง่าย มันมีเทคนิค มีศิลปะเยอะ มันเป็นวิชาที่ยากมาก และมันไม่มีสอนกัน เราต้องมาลองผิดลองถูกเอง
อาจารย์ก็อยากให้คุณทำให้ดีนะคะ เพื่อครอบครัวของคุณจะได้มีความสุข และลูกของคุณจะได้เติบโตขึ้นมาให้ดี และเป็นกำลังของสังคม และคุณก็จะภาคภูมิใจในตัวลูกค่ะ
แนะนำอ่านหนังสือ “สร้างวินัยให้ลูกคุณ” และ “สร้าง EQ ให้ลูกคุณ”
และเรียนบทเรียนออนไลน์ “เลี้ยงลูกใหม่ ปั้นให้ดี”