เข้าใจกระบวนการเรียนรู้

ก่อนที่จะเข้าใจว่าทำไมเด็กจึงเรียนไม่ดี คุณควรจะเข้าใจว่า วิธีการเรียนรู้ของเด็กทั่วไปเป็นอย่างไร เพื่อคุณจะวิเคราะห์ได้ว่าลูกของคุณมีปัญหาตรงจุดไหน และจะช่วยเขาให้ดีขึ้นได้อย่างไร
กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน
โดยทั่วไปกระบวนการเรียนรู้ของคนเราเกิดขึ้นที่สมอง และมีลักษณะเหมือนกันทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 ข้อมูลหรือสิ่งเร้าเข้ามาทางอวัยวะรับสัมผัสเช่น ตา หู จมูก ผิวหนัง
ขั้นที่ 2 ข้อมูลถูกส่งเข้ามาที่สมอง (input)
ขั้นที่ 3 สมองรับรู้ข้อมูล (perception)
ขั้นที่ 4 สมองประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งสร้างความทรงจำใหม่ (integration & memory)
ขั้นที่ 5 สมองสั่งการออกมา (output) ในรูปการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ คำพูดโต้ตอบ หรืออารมณ์ความรู้สึกต่างๆ
ตัวอย่างของกระบวนการดังกล่าวได้แก่ เมื่อครูบอกว่า “วันนี้จะเล่าเรื่องไดโนเสาร์ให้ฟัง” เสียงของครูเป็นข้อมูลที่เข้าไปทางอวัยวะรับสัมผัสคือ หู (ในทางการแพทย์เรียกข้อมูลนี้ว่า สิ่งเร้า หรือสิ่งกระตุ้น -stimulus) และเดินทางไปตามเส้นประสาทหู และในที่สุดก็เข้าไปที่สมอง เมื่อสมองรับข้อมูลนี้ สมองจะรับรู้ว่ามันคือเสียง ต่อมาสมองจะทำการประมวลหรือบูรณาการข้อมูล โดยอาศัยความรู้หรือความทรงจำที่เคยมีอยู่ ทำให้ข้อมูลนี้มีความหมายพิเศษเฉพาะตัวบุคคล เด็กที่เคยชอบไดโนเสาร์ เมื่อได้ยินครูพูดเช่นนั้นก็จะเกิดความรู้สึกตื่นเต้น อยากเรียนรู้มากขึ้น แล้วสมองก็จะสั่งการไปที่กล้ามเนื้อขาให้เดินไปนั่งใกล้ครู เพื่อที่จะฟังครูได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ เมื่อเด็กเห็นโจทย์เลขบนกระดาน ตาจะรับภาพโจทย์เลขนั้นและแปลเป็นกระแสประสาทส่งมาทางเส้นประสาทตา เพื่อเข้าไปที่สมอง ที่ศูนย์รับภาพบริเวณสมองสวนหลังจะมีการรับรู้ว่าสิ่งเร้าที่ได้รับนั้นคือตัวเลข ต่อมาสมองอีกส่วนหนึ่งจะแปลภาพตัวเลขโดยเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ในอดีตว่า ตัวเลขนี้หมายถึงจำนวนเท่าใด และสัญลักษณ์ + – x + หมายถึงอะไรสมองจะบูรณาการข้อมูลนี้ และสั่งการไปที่สมองสวนที่ควบคุมกล้ามเนื้อ ซึ่งจะสั่งให้มือเขียนวิธีทำและเขียนคำตอบลงไปในสมุด เป็นต้น

จากตัวอย่างทั้งสองนี้จะเห็นได้ว่า ข้อมูลหรือสิ่งที่เราเห็น ได้ยินหรือสัมผัสเกี่ยวกับโลกภายนอก จะถูกส่งเข้าไปที่สมอง ที่นั่นจะมีการจัดการกับข้อมูล และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือการที่สมองสั่งการออกมาในรูปแบบต่างๆ กระบวนการดังกล่าวมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อน หากเกิดความบกพร่องขึ้นในขั้นตอนเหล่านี้แม้เพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้การเรียนรู้ของเด็กบกพร่องได้ เช่น
กระบวนการขั้นที่ 1
เป็นการรับรู้ข้อมูล อาศัยอวัยวะรับสัมผัสที่ทำงานดี ดังนั้นหากหูหรือตาทำงานไม่ดี (เช่น หูตึง ได้ยินเสียงครูไม่ชัดเจน หรือสายตาสั้น มองเห็นกระดานไม่ชัด) ก็จะเกิดปัญหาในกระบวนการรับรู้ขั้นนี้ได้
กระบวนการขั้นที่ 2
เป็นการส่งต่อข้อมูล อาศัยเส้นประสาทตาและหูที่ปกติ เพื่อจะส่งข้อมูลจากตาและหูเข้าไปที่สมองได้
กระบวนการขั้นที่ 3
เป็นการที่สมองรับรู้ข้อมูล อาศัยสมองที่ทำงานประสานกันเป็นอย่างดี ในเด็กบางคนสมองทำงานสับสน รับรู้ภาพที่เห็นแบบกลับซ้ายเป็นขวา หรือแยกเสียงที่สำคัญออกจากเสียงรบกวนอื่นๆ ไม่ได้ (เช่น แยกเสียงครูออกจากเสียง
รถยนต์ที่วิ่งไปมาหน้าโรงเรียนไม่ได้) ทำให้ข้อมูลมีความสับสน ยากที่จะนำมาประมวลในขั้นต่อไป
กระบวนการขั้นที่ 4
เป็นการประมวลข้อมูล มีการคิด วิเคราะห์ และการสร้างความจำอาศัยการทำงานของสมองส่วนที่เรียกว่า cortex เด็กที่มีสติปัญญาบกพร่องจะมีปัญหามากในขั้นนี้ กล่าวคือ การบูรณาการข้อมูลหรือสิ่งที่เรียนรู้มาโดยเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ในอดีต
การคิด วิเคราะห์ แยกแยะ เข้าใจเหตุ-ผลและคาดการณ์ในอนาคต จะทำได้ยาก
กระบวนการขั้นที่ 5
เป็นการสั่งการ ขั้นนี้อาศัยความพร้อมของกล้ามเนื้อ หากกล้ามเนื้อไม่มีแรง การเคลื่อนไหวของเด็กจะไม่ดีเท่าที่ควร เช่น เด็กอาจคัดลายมือไม่สวย หรือเล่นกีฬาไม่คล่องแคล่ว เป็นต้น
การทำงานทั้ง 5 ขั้นนี้ อาศัยร่างกายที่แข็งแรง อารมณ์ที่ดีและสมาธิที่มั่นคง และหากเด็กมีเทคนิคที่ดี
“หนังสือปัญหาการเรียนและเทคนิคช่วยให้ลูกเรียนดี, หน้าที่ 8”
ในการเรียนด้วยแล้วขั้นตอนทั้งหมดก็จะดำเนินไปได้รวดเร็วและง่ายยิ่งขึ้น
แนะนำเรียนหลักสูตรออนไลน์ “เลี้ยงลูกใหม่ ปั้นให้ดี” และอ่านหนังสือ “เซตสร้างลูก”