ศ.พญ. อุมาพร ตรังคสมบัติ “เจ้าของรางวัลจิตแพทย์ดีเด่น จากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย”

เวปไซต์มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายความรู้ และประสบการณ์ที่สะสมมากว่า 20 ปี ของ ศ.พญ. อุมาพร ตรังคสมบัติ จิตแพทย์มือหนึ่งของประเทศไทย ผู้เชียวชาญทางด้าน จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น ท่านได้เขียนหนังสือกว่า 10 เล่ม ในเรื่องของ การเลี้ยงลูก การพัฒนา EQ ในเด็กและวัยรุ่น ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส และอีกมากมายอีกทั้งเวปไซต์นี้จะเป็นแหล่งรวมความรู้ในหัวข้อของหนังสือของอาจารย์ ความรู้เพิ่มเติมหรืออัพเดทต่างๆ พร้อมทั้งยังมีข้อมูลการสัมนาดีๆที่อาจารย์จัดอีกด้วย

ท่านสามารถอัพเดท ข้อมูลข่าวสาร งานสัมนาดีๆ ที่อาจารย์ได้รับเชิญให้ไปบรรยายตามที่ต่างๆ และอัพเดทหนังสือเล่มใหม่ๆ ข้อมูลข่าวสารดีๆในหัวข้อต่างๆ อาทิเช่น การพัฒนาของเด็กและวัยรุ่น การบำบัดรูปแบบใหม่ๆ ได้ในเวปนี้ เป็นต้น

ประวัติและผลงาน ของ ศ.พญ. อุมาพร ตรังคสมบัติ

การศึกษา

พ.ศ.2516 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

พ.ศ.2521 วิทยาศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ.2523 แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ.2527 วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ.2530 วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ.2533 Certificate in Child and Adolescent Psychiatry จาก University of Pennsylvania และ ฝึกอบรมวิชาจิตบำบัดครอบครัวจาก Philadelphia Child Guidance Center สหรัฐอเมริกา

เกียรติยศและรางวัล

พ.ศ.2517 ได้รับเลือกเป็นผู้แทนเยาวชนไทยไปชมการส่งยานอวกาศอพอลโล 17 เพื่อสำรวจดวงจันทร์เป็นครั้งสุดท้ายในโครงการ Apollo ตามคำเชิญขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) ประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ.2531 ได้รับทุนจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทุนจาก University of Pennsylvania เพื่อศึกษาทางด้านจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น

พ.ศ.2533 มีชื่อและประวัติปรากฏในหนังสือ Who’s Who in the East และ Who’s Who in America ของสำนักพิมพ์ Macmillan

พ.ศ.2538 ได้รับทุนเจ้าจอมมารดาเลื่อนในรัชกาลที่ 5 จากสภากาชาดไทย

พ.ศ.2539 ได้รับทุนในฐานะนักวิชาการดีเด่นจาก International Society for the Prevention of Child Abuse and Neglect (ISPCAN)

พ.ศ.2534 – 2540 ได้รับทุนส่งเสริมอาจารย์ผู้อุทิศตนเป็นนักวิชาการของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

พ.ศ.2540 และ 2541 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นจากราช
วิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

พ.ศ.2540 – 2545 ได้รับเชิญจากกระทรวงยุติธรรม ประเทศสหรัฐอเมริกาให้เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ ( expert witness) ในสาขาการแพทย์

พ.ศ.2541 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำสถาบันพัฒนากระบวนการยุติธรรมเยาวชนและครอบครัว

พ.ศ.2541 ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น TTF Award จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย สำหรับการเขียนหนังสือ “จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว”

พ.ศ.2542 ได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค องค์การสหประชาชาติ (UNESCAP) และได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัย UPPSALA ประเทศสวีเดนให้ป็นอาจารย์พิเศษ และ co-director สำหรับหลักสูตรฝึกอบรมเจ้าหน้าที่นานาชาติในการบำบัดฟื้นฟูเด็กในสภาวะยากลำบาก ที่ประเทศเคนย่า

พ.ศ.2542 ได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาของ Cambodia National Workshop for the Prevention of Sexual Abuse and Exploitation of Children and Youth ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

พ.ศ.2542 ได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาของ National Workshop for the Prevention of Sexual Abuse and Exploiatation of Children and Youth ที่เมืองคุนหมิง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

พ.ศ.2542 ได้รับรางวัลจิตแพทย์ดีเด่นสาขาการวิจัย จากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

พ.ศ.2544 ได้รับเชิญจาก The Virginia Satir Network เป็นวิทยากรในการฝึกอบรมจิตบำบัดแบบ Satir Brief Systemic Therapy ที่เมือง Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ.2549 ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นจากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย จากงานวิจัยเรื่อง Family functioning in mental illness: a study in Thai families with depressive disorders and schizophrenia.

ประชุมนานาชาติ

พ.ศ. 2553 เสนอผลงานเรื่อง Cultural considerations in family therapy for boys with conversion.  ในการประชุม 20th IFP World Congress of Psychotherapy  เมืองลูเซิร์น  สมาพันธรัฐสวิส

พ.ศ. 2554 เสนอผลงานวิจัยเรื่อง Gender differences in depressive symptoms in adolescents. ในงานประชุม 8th Congress of International Society of Adolescent Psychiatry and Allied Professions  นครเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

พ.ศ. 2555 เสนอผลงานวิจัยเรื่อง Family functioning and depression in adolescents: a gender perspective ในการประชุม 20th World Family Therapy Congress แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา

พ.ศ. 2556 เสนอผลงานเรื่อง Psychotherapy for girls with anxiety disorders: a culturally sensitive approach. ในการประชุม 21st European Congress of Psychiatry  เมืองนีซ สาธารณรัฐฝรั่งเศส

พ.ศ. 2557 เสนอผลงานวิจัยเรื่อง Depression and suicide in adolescents. ในการประชุม 28th International Congress of Applied Psychology ที่นครปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส

พ.ศ. 2557 ร่วมประชุม 7th European Conference on Positive Psychology นครอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์

พ.ศ. 2559 ร่วมประชุม 8th European Conference on Positive Psychology  เมืองอองเจย์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส

นอกจากนี้อาจารย์ยังได้เคยสอนและเป็นที่ปรึกษาในองค์กรต่างๆมากมาย อาทิเช่น

ชมรมความผิดปกติทางอารมณ์แห่งประเทศไทย
ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย
ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน
โรงเรียนมาแตร์เดอี
โรงเรียนบูรณะรําลึก
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อาจารย์พิเศษหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์พิเศษหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ทั่วไป คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์พิเศษหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม
สมาคมสมาพันธ์ผู้ดูแลไทย
สมาคมสายใยครอบครัว
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
พยานผู้เชี่ยวชาญสาขาการแพทย์ (expert witness) กระทรวงต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา
แพทย์ที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูตอเมริกาประจําประเทศไทย
ช่อง 9 ข่อง 7
กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงยุติธรรม
บริษัทไทยประกันชีวิต
สถานเอกอัครราชทูตอเมริกันประจำประเทศไทย