เมื่อลูกอิจฉากัน


หลักสูตรหรือบทเรียนนี้สำหรับสมาชิกรายเดือน และสมาชิกรายปีเท่านั้่น หากท่านเป็นสมาชิกอยู่แล้ว ท่านสามารถเข้าสู่ระบบได้ตามลิ้งนี้ เข้าสู่ระบบ. หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านสามารถสมัครสมาชิกได้ที่ลิ้งต่อไปนี้ สมัครสมาชิก.

Overview

ผู้สอน : ศ.พญ. อุมาพร ตรังคสมบัติ

ระยะเวลา : 7.01 นาที

คำอธิบาย : ปัญหาพี่น้องอิจฉากัน เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเพราะติดค้างไปจนโต ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวแย่ลง ฟังเทคนิค 6 ข้อแก้ปัญหานี้

เหมาะกับ : ครอบครัว

Transcript

ปัญหาอันนึงที่พบบ่อยๆในบ้านที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคนก็คือ   พี่น้องอิจฉากันค่ะ   พี่น้องอิจฉากัน จริงๆแล้วอยากจะบอกว่า   มันเป็นของธรรมดา   มันเกิดขึ้นเพราะว่า   ลูกทุกคนต้องการความรักจากพ่อแม่   แล้วถ้าไม่ใช่ลูกคนเดียวเด็กก็จะ   เหมือนกับคอย   ชั่งตวงวัด ความรักที่พ่อแม่ให้เค้านะคะ   พอเขารู้สึกว่าเขาได้น้อยกว่าอีกคนนึง   เค้าก็จะเกิดความรู้สึก   ไม่ดีที่เราเรียกว่าความรู้สึกอิจฉา   ความรู้สึกไม่ดีนี้เกิดขึ้นได้หลายแบบนะคะ   ยกตัวอย่างเช่น   เด็กคนนึงเคยเป็นลูกคนเดียวมานานมาก   พอมีน้องใหม่เข้ามา   เวลา ความสนใจ   และหลายหลายอย่างก็ถูกแบ่งไป   ให้น้องเด็กก็จะรู้สึก   เสียใจ รู้สึกโกรธอยู่ลึกๆ   แล้วก็ไม่ชอบน้อง   มีเด็กหลายคนมีความไม่ชอบน้องสะสม   มาเป็นเวลานานแล้ว   พ่อแม่ไม่รู้นะคะ   พ่อแม่คิดว่ามันไม่มีอะไร   แต่ความไม่ชอบน้องเนี่ยบางครั้ง   เมื่อเล็กๆ เด็กยังแสดง   ออกมาได้ไม่มากพอเพราะว่า   เด็กไม่กล้าแสดงออกนะคะ   เด็กกลัวว่าพ่อแม่จะปฏิเสธเขา   ถ้าเขาแสดงให้เห็นเค้าไม่ชอบน้อง   เพราะฉะนั้นเค้าก็จะเก็บความรู้สึกนี้เอาไว้   แล้วมันแสดงออกมาตอนโตก็มีนะคะ   ในเด็กบางคนก็กล้าหาญ   ก็บอกตรงๆว่าหนูไม่ชอบน้อง   เพราะฉะนั้นพ่อแม่จะต้องใส่ใจเรื่องนี้นะคะว่า   เวลามีน้องพี่จะมีความรู้สึกอ่อนไหว   รู้สึกเปราะบาง   อย่าไป เราเเรียกว่า discredit ความรู้สึกอันนี้นะคะ   หรือเห็นว่าไม่มีความหมาย   พ่อแม่หลายคนบอกว่า   ทำไมจะต้องรู้สึกแย่กับน้องด้วย   น้องนี่เป็นน้องของลูกนะ   อันนี้ไปปกป้องน้องยิ่งทำให้พี่รู้สึกแย่ใหญ่เลย   พอเราสังเกตุว่าลูกไม่ค่อยชอบน้อง   เราต้องจัดการแก้ปัญหาทันที   วิธีแก้ปัญหาไม่ใช่ไปดุพี่ว่าทำไมถึงไม่ชอบน้อง   เป็นหน้าที่ของที่ที่จะต้องชอบน้องนะ   นี่เป็นน้องของลูกนะ   ลูกที่ดีก็ต้องไม่คิดอย่างนี้   คุณรู้ถึงปัญหา   ตระหนักว่านี่มีปัญหาแล้วคุณก็จัดการกับลูกคน   ที่กำลังมีปัญหานี้โดยการ   ให้ความรักเพิ่มขึ้นให้เวลาเพิ่มขึ้น   วิธีที่อาจารย์จะแนะนำพ่อแม่ แล้วก็ได้ผลดีเสมอคือ   การที่ให้เวลาเป็นพิเศษเฉพาะตัวกับเขา   เมื่อมีน้องเล็กขึ้นมา   พ่อแม่ต้องใช้เวลากับน้องเล็ก   มากขึ้น   ดังนั้นคุณจะต้องมีเวลาพิเศษเฉพาะตัวกับลูก   คนพี่โดยที่ไม่มีน้องอยู่ด้วย   เป็นเวลาส่วนตัวเป็นเวลาพิเศษเขากับพ่อหรือแม่ในตอนนั้น   โดยอาจจะสลับกันบางวันก็เป็น   เวลาเขากับพ่อบางวันก็เป็นเวลาเขากับแม่ก็ได้นะคะ   ในเวลานั้นให้ความสนใจเต็มที่   กับลูกคุยกับลูกสนุกกับลูกเล่นกับลูก   อาจจะต่อจิ๊กซอว์ด้วยกัน อาจจะเล่นเกมด้วยกัน   ระบายสีด้วยกันจูงมือกันไปกินไอศครีมข้างนอกก็ได้   เป็นเวลาส่วนตัว   แล้วบอกเค้าว่า   คุณภูมิใจในตัวของเค้าๆทำอะไรได้เก่งยังไงบ้าง   เพราะว่าเขาเป็นพี่เขาถึงทำได้เก่งอย่างนี้   คุณอาจจะต้องพูดเหมือน   บลัฟน้องซักนิดหน่อยว่า   โอ้ว ดูซิน้องยังทำไม่ได้เท่าหนูเลย   เพื่อสร้างความภูมิใจในตัวเองให้มันฟูขึ้นมาหน่อย   เวลาเราภาคภูมิใจในตัวเอง   เรารู้สึกว่าเรามีคุณค่าเราจะไม่อิจฉาคนอื่น   เพราะฉะนั้นเคล็ดลับของการทำให้พี่ไม่อิจฉาน้อง   และทำให้พี่มีความรักน้องเมตตากับน้อง   ก็คือทำให้พี่รู้สึกดีที่เขาเป็นพี่รู้สึกภาคภูมิใจที่เขาเป็นพี่   ในของบางอย่างที่ตอนนั้นน้องยังทำไม่ได้   เช่นน้องยัง   ช่วยแม่เช็ดโต๊ะไม่ได้   คุณก็อาจจะบอกว่า   หนูเก่งมากเลยช่วยแม่เช็ดโต๊ะได้   ดูสิน้องยังทำไม่ได้เลย   อันนี้จริงๆเราพูดอันนี้ได้นะคะ   เพราะว่าน้องยังไม่เข้าใจน้องยังเล็กอยู่   น้องจะไม่รู้สึกว่าถูกต้องหนิอะไรหรอกนะ   แต่พี่จะรู้สึกภูมิใจว่า เขาเป็นพี่   และเค้าเก่งเค้าช่วยได้   บางทีเราอาจจะพูดในลักษณะที่ว่า   แม่อยากให้หนูช่วยน้องนิดนึง   เพราะว่าหนูทำได้เก่ง   อันนี้เขาก็จะได้รู้ว่า   พอ   คนเราเป็นคนเก่งเราก็ช่วยคนที่อ่อนแอกว่า   ช่วยคนที่ทำไม่ได้นะคะ   อันนี้ก็จะสร้างความรู้สึกดีให้เกิดขึ้นมา   อยากจะบอกว่า ความรู้สึกไม่รักน้อง   ความรู้สึกพี่น้องอิจฉากันเนี่ยนะคะ   เป็นของที่พ่อแม่ต้องจัดการ   แล้วอย่าโกรธลูกที่มีความรู้สึกอันนี้   การที่เค้ามีความรู้สึกอันนี้มันเหมือนกับเป็น   เครื่องชี้วัดว่าตอนนี้ธนาคารความรัก   ที่เด็กสะสมมา กระปุกเนี่ย   เรียกว่ากระปุกก็แล้วกัน   กระปุกออมสินความรักที่เด็ก   ใส่เหรียญแห่งความรักที่พ่อแม่ให้เนี่ย   มันพร่อง คุณก็ต้องเติมลงไปในกระปุกนี้นะคะ   เคยเจอบ้านนึง พี่น้องไม่รักกันนะคะ   พ่อแม่พามา ตอนที่พ่อแม่อายุเจ็ดสิบแล้วคะ   แล้วลูกอายุสี่สิบกับสามสิบ   พ่อแม่มาบอกว่า   อาจารย์คะ ช่วยหน่อย   ลูกทั้งสองคนไม่รักกัน   คนนึง   เวลาเข้าออกจากบ้านก็เข้าทางประตูด้านหน้า   อีกคนนึงก็เข้าทางประตูด้านหลัง   แต่ละคนมีห้องของตัวเองมีทีวีของตัวเอง   มีครัวเล็กๆมีตู้เย็นเล็กๆ   ทั้งสองคนไม่คุยกันเลยในบ้านหลังเดียวกัน   อาจารย์ก็บอกว่า   อาจารย์ไม่ใช่ผู้วิเศษ   ที่จะมาช่วยเรื่องนี้แล้วละ   คุณต้องยอมรับสภาพ   เขาไม่คุยกันมาสามสิบปี   ตั้งแต่เล็กนะคะ   มาจัดการตอนนี้ก็คงไม่ได้แล้ว   แล้วก็เวลาที่ได้พูดคุยกับพี่และน้องคู่นี้   โดยแยกกันตามลำพัง   ก็พบว่าเขาทั้งสองคนไม่อยากจะข้องเกี่ยวกัน   มันเป็นความรู้สึกฝังลึกมานาน   แต่เป็นอะไรที่ ถ้าเราเป็นพ่อแม่เราคงหดหู่ใจ   กับสิ่งเหล่านี้นะคะ   เราคงไม่อยากให้มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น   เพราะฉะนั้นขอ   แนะนำพ่อแม่ที่กำลังมีลูก   เล็ก   หรือกำลังมีลูกที่เรากำลังให้ความสนใจเป็นพิเศษ   แล้วเราอาจจะลืมอีกคนนึง   ความรู้สึกพี่น้องอิจฉากัน   อาจจะกลายเป็นความไม่รักกัน   เป็นศัตรูกันในอนาคตก็ได้   แก้ปัญหานี้ให้ดีนะคะ  
.

Reference

None

Downloadable


เนื้อหาดาวโหลดนี้สำหรับสมาชิกรายปีเท่านั้น หากท่านเป็นสมาชิกอยู่แล้ว ท่านสามารถเข้าสู่ระบบได้ตามลิ้งนี้ เข้าสู่ระบบ. หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านสามารถสมัครสมาชิกได้ที่ลิ้งต่อไปนี้ สมัครสมาชิก.


Back to: เรียนฟรี รวมความรู้เบื้องต้น