เลี้ยงลูกให้มีความฉลาดทางอารมณ์

#เลี้ยงให้รู้ว่ารัก #affirmativecaring
ครั้งหนึ่งอาจารย์ได้มีโอกาสพบเด็กสามคนที่ฉลาด มี IQ สูง..
👦🏻 คนแรกอายุ 11 ปี มีอารมณ์เศร้า รู้สึกเพื่อนไม่ยอมรับ แต่เก็บความรู้สึกแย่ๆ เอาไว้คนเดียว
👦🏻 คนที่สองอายุ 16 ปี พ่อแม่บรรยายว่า มีอารมณ์เกรี้ยวกราด พอคุยกันเด็กก็เล่าว่ารู้สึกเบื่อ อยากจะหลับและไม่ต้องตื่นขึ้นมาอีก
👦🏻 ส่วนคนที่สามนั้นมีอายุ 14 ปี ไม่ส่งการบ้าน งานค้าง จนครูต้องเรียกให้พ่อแม่ไปพบ
👩🏻⚕️ ทั้งสามคนนี้ตรวจพบว่ามีอารมณ์เศร้า จริงๆแล้ว เด็กทั้งสามมาจากครอบครัวที่อยู่กันพร้อมหน้า ฐานะดี พ่อแม่ก็ตั้งใจเลี้ยงลูกดี
❌แต่ทั้งสามคนขาดสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก คือ การดูแลแบบ affirmative caring
ฝึก Affirmative Caring ให้ลูกเกิดความฉลาดทางอารมณ์
📌 คำว่า affirmative แปลว่ายืนยัน รับรอง เห็นพ้อง สนับสนุน affirmative caring หมายถึง การฟูมฟักเลี้ยงดูที่ทำให้ตัวตนของเด็กมั่นคง โดยให้ความสำคัญต่อแด็กและให้การประคับประคองทางอารมณ์ต่อเด็กอย่างเหมาะสม
การที่พ่อแม่จะดูแลลูกในแบบนี้ได้ เขาจะต้องเอาใจใส่ลูกทางอารมณ์ ไม่ใช่เฉพาะทางกาย
การดูแลแบบ affirmative caring นี้มีผลต่อภาพลักษณ์ของเด็ก ความสามารถในการปรับตัวกับปัญหา รวมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต การศึกษาโดยติดตามนักศึกษามหาวิทยาลัย Harvard เป็นเวลานานถึง 35 ปีพบว่า…
✅ ผู้ที่พ่อแม่อบอุ่น ให้การดูแลเอาใจใส่และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จะมีสุขภาพแข็งแรงกว่าและป่วยเป็นโรครุนแรงเช่น โรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง น้อยกว่าผู้ที่พ่อแม่ไม่ค่อยอบอุ่นและไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 🥰
✅ Affirmative caring อาจทำได้โดยใช้เวลากับลูกประมาณวันละ 20 นาที ทุกวัน ในเวลาดังกล่าวคุณต้องทำอะไรบางอย่างกับลูก
👶🏻 ในลูกเล็ก มักจะเป็นการเล่น
👧🏻 ในลูกวัยรุ่นก็อาจเป็นการพูดคุยกันหรือทำสิ่งที่ชอบด้วยกันก็ได้ สิ่งที่สำคัญคือ การใช้เวลาดังกล่าวจะต้องมีลักษณะดังนี้
• มีบรรยากาศแห่งการยอมรับในตัวลูก ไม่ตัดสินผิด/ถูก ควร/ไม่ควร (nonjudgmental)
• ให้ความสนใจในสิ่งที่ลูกทำ
• มีความกระตือรือร้น มีชีวิตชีวา ไม่ใช่แสดงความเบื่อหน่าย
• ชมเชยเมื่อลูกทำสิ่งที่ดี
• ไม่ออกคำสั่ง แต่ใช้วิธีเสนอแนะหากจะให้ลูกทำอะไรบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อให้ลูกมีโอกาสตัดสินใจเอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
💜 อยู่บ้านโควิดช่วงนี้ ลองมาฝึก affirmative caring กับลูกหน่อย ดีไหมคะ? และหากอยากรู้เรื่องนี้มากขึ้น
ขอแนะนำให้อ่าน “สร้าง EQ ให้ลูกคุณ” “สร้างวินัยให้ลูกคุณ”