ช่วยลูกสร้างตัวตนที่มั่นคง
Overview
ผู้สอน : ศ.พญ. อุมาพร ตรังคสมบัติ
ระยะเวลา : 6.33 นาที
คำอธิบาย : ตัวตน(self) ที่มั่นคงเป็นสิ่งสำคัญ ในการดำเนินชีวิต ในทุกวันที่ใช้ชีวิตกับลูก คุณสร้างตัวตนของลูกแบบไหน? แบบมั่นคง หรือเปราะบาง? จงพยายามสร้าง ปฎิสัมพันธ์ต่อลูกในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ
เหมาะกับ : ครอบครัว
Transcript
เวลาเด็กมาหาเรานี่นะคะเราก็ทำการตรวจสภาพจิตเด็ก นอกจากนี้เราก็ยังจะให้เด็กทำแบบทดสอบ มีแบบทดสอบอันนึงที่เราจะให้เด็กทำบ่อยๆ มันเป็นเหมือนประโยคที่มีแค่ครึ่งประโยคอะนะคะไม่เต็มแล้ว ก็ให้เด็กเติมว่าเขาคิดยังไง เช่นประโยคว่า ฉันรู้สึก จุดจุดจุดจุด จะเติมความรู้สึกอะไรก็ได้ ฉันคิดว่าตนเอง จุดจุดจุด ก็เติมอะไรก็ได้เกี่ยวกับมุมมองตัวเอง ก็อยากจะเล่าให้ฟังถึงเด็กคนนึง ที่ได้เติมแบบสอบถามอันนี้นะคะ พออ่านแล้วก็รู้สึกดีจังเลยคนที่อ่าน เขาจะเติมเอาไว้อย่างนี้คะ คุณพ่อคุณแม่ของฉันคิดว่าฉันเป็นเด็กดี คุณครูของฉันคิดว่าฉันเป็นเด็กดี ฉันอยากเป็นคนดี พออ่านแล้วคุณรู้สึกยังไงคะ สำหรับอาจารย์ที่อ่านอันนี้ รู้สึกมีความสุข มีความสุขที่เห็นเด็กคนนึง มีมุมมองเกี่ยวกับตัวเองว่า เขาดีพอ เขาเป็นคนดี เขาใช้ได้ แล้วก็นึกถึงว่าในสภาพแวดล้อมของเขา เมื่อเขาอยู่ที่บ้านเขาคงได้รับ message หรือข้อมูล จากพ่อแม่ว่าเค้าดีพอ พอเค้าอยู่ที่โรงเรียน คุณครูคงสะท้อนอันนี้ ให้เขาเห็นว่าดีพอ จาก 2 ข้อแรกที่เขาบอกว่า คุณพ่อคุณแม่คิดว่าฉันเป็นเด็กดีคุณครูคิดว่า ฉันเป็นเด็กดีก็นำไปสู่มุมมองตัวเองว่าฉันอยากเป็นคนดี หรือความตั้งใจว่าฉันอยากจะเป็นคนดีอันนี้มันบ่งบอก ถึงเป้าหมายเกี่ยวกับตัวเอง ที่เป็นเป้าหมายเชิงบวก จริงมั้ยคะ ในการที่เราเลี้ยงเด็กขึ้นมาคนนึงเนี่ย เราก็อยากจะให้เขาได้มีเป้าหมายเกี่ยวกับตัวเค้าในเชิงบวก เราอยากให้เขามีมุมมองเกี่ยวกับตัวเองในเชิงบวก แล้วอันนี้มันก็สำเร็จในเด็กคนนี้นะคะ เมื่อมาทำความรู้จักเด็กคนนี้ก็พบว่า ชีวิตในบ้านมันมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก อาจารย์ก็ถามว่า หนูรู้ได้ยังไงว่าคุณพ่อคุณแม่ คิดว่าหนูเป็นเด็กดี เขาบอกว่า ไม่รู้สิครับมันรู้สึกได้เอง ไหนลองนึกดูซิ มันรู้สึกได้เองตอนไหน เขาก็นิ่งไปซักพักนึง แล้วเขาก็บอกว่า ตอนที่คุณพ่อคุณแม่มองผมแล้วยิ้ม มาวิเคราะห์ดูประโยคอันนี้ที่เด็กบอกนะคะ มันแปลว่าในปฏิสัมพันธ์ที่ เขามีกับพ่อแม่ เขาได้เห็น feedback หรือข้อมูลย้อนกลับให้เค้าในแบบบวก เมื่อพ่อแม่มองดูเค้า แล้วพ่อแม่ก็ยิ้ม คงเป็นยิ้มในแบบที่รู้สึกดีกับลูก รู้สึกภูมิใจในตัวลูก รู้สึกว่าลูกเข้าท่า รู้สึกว่าลูกน่ารักนะคะ อันนี้เป็นสิ่งที่บอกเราว่า เด็กๆอ่าน feedback จากเรา เด็กๆอ่านข้อมูลที่พ่อแม่ส่งมาให้ ถ้าพ่อแม่มองเขาด้วยสายตา ขมวดคิ้ว หน้าไม่ดีไม่มีความสุข เด็กๆก็คงอ่านข้อมูลอันนั้นว่า เขาไม่ดีพอ จริงๆแล้วเด็กๆจะมีความรู้สึก ความคิดบางอย่างที่เราเรียกว่า egocentric นะคะ egocentric ในที่นี้ก็ คำว่า centric ก็แปลว่าเป็นศูนย์กลาง ego ก็หมายถึงตัวเรา egocentric ก็คือ ความคิดในแบบที่ว่า เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง คำว่าเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า ทุกอย่างจะต้องตามใจฉันเสมอนะคะ แต่มันมีความหมายอีกอันนึงคือ เขาคิดว่าตัวเขาเป็นต้นเหตุของหลายๆสิ่ง เพราะฉะนั้นเวลาที่พ่อแม่มองลูกเชิงลบ หรือมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีเด็กก็จะคิดว่าเขาเป็นต้นเหตุ ให้พ่อแม่ไม่พอใจแล้วเป็นต้นเหตุให้พ่อแม่ ไม่มีความสุข เขา เขา เขาเป็นสาเหตุของสิ่งไม่ดีหลายอย่าง ถ้าพ่อแม่ทะเลาะกันเพราะคิดว่าเขาเป็นต้นเหตุที่ทำให้ พ่อแม่ทะเลาะกัน ความคิดแบบนี้มันเกิดขึ้นแล้วติดค้างมานะคะ ก็อย่างที่บอกลักษณะความคิดของเด็กๆมันเป็นสไตล์นั้น เพราะฉะนั้นพ่อแม่เองคงจะต้อง ระวังในการที่ ส่งข้อมูลย้อนกลับให้ลูก ว่า ลูกจะอ่านออกมาว่ายังไง อยากให้พ่อแม่ทุบทวนปฏิสัมพันธ์ที่เรามี กันแต่ละวันนะคะ ปฏิสัมพันธ์ที่มีแต่ละวัน น่าจะเป็นในแบบที่ บวกมากกว่าลบ แน่นอนในชีวิตครอบครัวมันเป็นไปไม่ได้ ที่จะมีปฏิสัมพันธ์บวกอย่างเดียว ปฏิสัมพันธ์ลบ มันเกิดขึ้นได้ง่ายและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เวลาเราเหนื่อย เวลาลูกไม่เชื่อฟัง เราต้องพูดเยอะ เราก็อารมณ์เสีย เวลาเด็กๆถูกเตือนมากๆ เด็กๆก็หงุดหงิดใจ มันก็มีปฏิสัมพันธ์เชิงลบได้ แต่ในชีวิตครอบครัวที่จะ เอื้อให้ลูกเติบโตไปได้ดีพอ คุณต้องสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้มีสัดส่วนมากกว่า ปฏิสัมพันธ์เชิงลบนะคะ ถ้าคุณทำให้สัดส่วนนี้ มันไม่ดี ลบมากกว่าบวก หรือลบเท่ากับบวกมันก็ยังไม่ดีนะคะ ต้องบวกมากกว่าลบนะคะ อันนี้จากงานวิจัยคะ ว่า ประสบการณ์เชิงบวกต้องมากกว่าประสบการณ์เชิงลบนะคะ เมื่อคุณสร้าง ปฏิสัมพันธ์เชิงบวกให้มากกว่าเชิงลบ มันจะทำให้เด็กมีความรู้สึกว่า มีความสุข มีอารมณ์บวก มีความหวัง รู้สึกว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ดี รู้สึกว่าครอบครัวอบอุ่น รู้สึกว่าพ่อแม่ต้อนรับเรา รู้สึกว่าเรามีความหมาย เรามีคุณค่า นั่นคือการวางพื้นฐานของตัวตนที่มั่นคงให้กับลูกนะคะ เพราะฉะนั้นอย่าลืมนะคะ สร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกให้มากขึ้น ก็ลองไปทบทวนสัดส่วนของ ปฏิสัมพันธ์เชิงบวกและลบที่มีในครอบครัวแต่ละวันนะคะ แล้วก็เปลี่ยนสัดส่วนใหม่ให้มันดีพอคะ
.
Reference
None
Downloadable
เนื้อหาดาวโหลดนี้สำหรับสมาชิกรายปีเท่านั้น หากท่านเป็นสมาชิกอยู่แล้ว ท่านสามารถเข้าสู่ระบบได้ตามลิ้งนี้ เข้าสู่ระบบ. หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านสามารถสมัครสมาชิกได้ที่ลิ้งต่อไปนี้ สมัครสมาชิก.