เมื่อลูกคิดเชิงลบ


หลักสูตรหรือบทเรียนนี้สำหรับสมาชิกรายเดือน และสมาชิกรายปีเท่านั้่น หากท่านเป็นสมาชิกอยู่แล้ว ท่านสามารถเข้าสู่ระบบได้ตามลิ้งนี้ เข้าสู่ระบบ. หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านสามารถสมัครสมาชิกได้ที่ลิ้งต่อไปนี้ สมัครสมาชิก.

Overview

ผู้สอน : ศ.พญ. อุมาพร ตรังคสมบัติ

ระยะเวลา : 5.33 นาที

คำอธิบาย : เด็กหลายคน(รวมทั้งผู้ใหญ่ด้วย)มักชอบคิดเชิงลบมองโลกรอบตัวและตัวเองในเชิงลบฟังเทคนิคช่วยลูกให้คิดเชิงลบน้อยลง และคิดเชิงบวกมากขึ้น
เหมาะกับ : ครอบครัวที่มีแม่บ้าน

Transcript

มีผู้ปกครองเขียนมาถามอย่างนี้นะคะ เดี๋ยวจะอ่านให้ฟังเลยนะคะ ลูกชอบจำเรื่องที่ไม่ดีในอดีตทำอย่างไร ไม่ให้หมกมุ่นหรือจำเรื่องที่ไม่ดีในอดีตเช่น เวลามีเพื่อนทำอะไรที่ไม่ดี แม้จะสามสี่ปีผ่านไปแล้วก็ตาม เขายังจำได้อยู่แล้วเวลาของอารมณ์เสีย ก็จะพูดถึงเรื่องไม่ดีแบบนี้เสมอนะคะ เป็นธรรมดาอยู่เองนะคะ ที่คนเราจะจำเรื่องที่ไม่ดีมากกว่าจำเรื่องที่ดี มีการวิจัยทางด้าน positive psychology พบว่า ถ้าเราจะลบล้างอิทธิพลหรือผลกระทบ ของสิ่งที่ไม่ดีเหตุการณ์ที่ไม่ดีในชีวิตของเรา ต้องใช้เหตุการณ์ที่ดีๆเพื่อจะมาลบล้างผลกระทบนี้ ตั้งแต่ 5 ถึง 20 เหตุการณ์ขึ้นไป เหตุการณ์ไม่ดี 1 เหตุการณ์ ไม่ใช่เหตุการณ์การดี ตั้งแต่ 5 ถึง 20 เหตุการณ์ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับว่าเหตุการณ์ที่ไม่ดีนี้มีความรุนแรงแค่ไหน ถ้าเหตุการณ์ที่ไม่ดีนี้ มีความรุนแรงไม่มาก ต้องใช้เหตุการณ์ดี มาถีง 5 เท่านะคะ แต่ถ้าเหตุการณ์ที่ไม่ดีนี่มันรุนแรงเยอะ เช่นมีอุบัติเหตุมีอันตรายถึง ร่างกายถึงชีวิตเกิดขึ้นนะคะ อาจจะต้องใช้เหตุการณ์ดีๆมาถึง 20 เหตุการณ์ กว่าจะลบล้างผลเชิงลบของเหตุการณ์แย่ๆนะคะ เพราะฉะนั้นพอมีเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้น คนเราก็จะจำเหตุการณ์ที่ไม่ดีแล้วก็คิดซ้ำไปซ้ำมา ลองนึกถึงตัวเองดูสิคะเวลามีเหตุการณ์ดี ท่านคิดซ้ำไปซ้ำมาทบทวนเหตุการณ์ดีหรือเปล่า ถ้าท่านมาทบทวนดูดีๆจะรู็ว่า เรามักจะคิดย้อนถึงเหตุการณ์ไม่ดีซะมากกว่า เด็กๆก็เป็นอย่างนั้นค่ะโดยเฉพาะเด็กๆ มักจะมีกลไกการปรับตัวอยู่ที่เราเรียกว่า coping mechanism ที่ไม่ได้เก่งพอเท่ากับผู้ใหญ่นะคะ เพราะฉะนั้นพอมีเหตุการณ์ไม่ดีมันก็จะกระทบใจเด็กๆเยอะ แล้วผู้ปกครองจะทำยังไง สิ่งที่สำคัญก็คือ ผู้ปกครองต้องช่วยลูกในการจัดการ กับ ผลเชิงรุกของเหตุการณ์ที่ไม่ดี ยกตัวอย่างเช่นในรายนี้ถูกเพื่อนแกล้ง เวลาถูกเพื่อนแกล้งก็จะมีอารมณ์ความรู้สึกแย่ รู้สึกเสียใจรู้สึกโกรธผู้ปกครองต้องช่วยลูก ในการจัดการกับอารมณ์พวกนี้ วิธีช่วยลูกก็คือ รับฟังนะคะ แล้วก็เข้าใจแล้วก็ยอมรับว่า มันเป็นธรรมดาที่ลูกจะรู้สึกแย่ ให้เขาเล่าเรื่องให้คุณฟัง ให้เขาเล่าความรู้สึกนึกคิดให้คุณฟัง แล้วในที่สุดความรู้สึกนึกคิด จะค่อยๆลดความรุนแรงของมันลง เหตุผลก็เพราะว่าเวลาคนเราพูดคุยออกมาเนี่ย จะมีการจัดระบบระเบียบของความรู้สึกนะคะ ตอนแรกความรู้สึกของเรามันปั่นป่วนเต็มตัวเรา อยู่เต็มใจเราเลยนะ พอเราได้เล่าออกมาเนี่ยมันก็จะมีการ จัดระบบระเบียบความรู้สึก และจัดระบบความคิดของเราเอง ในที่สุดเราก็จะเข้าใจความรู้สึก ของตัวเรามากขึ้น ความรู้สึกที่แรงๆนี้ก็จะเบาลงนะคะ แล้วเราก็จะถึงทางออกได้ เพราะว่าความคิดของเราได้เริ่มเป็นระบบแล้ว นี่ก็คือการที่ผู้ปกครองจะช่วยลูกจัดการกับผลกระทบ ของเหตุการณ์ลบอันนี้ แล้วต่อมาสิ่งที่สำคัญมากก็คือ การสร้างบรรยากาศในครอบครัวให้เด็กมีความรู้สึกว่า หลายๆสิ่งในชีวิต มันเป็นสิ่งที่มันก็จะผ่านไป ไม่ได้แย่มากถ้าคนเราอดทนแล้วก็พยาม แก้ปัญหา มีใจที่นิ่งพอ แล้วก็จะสามารถ ที่จะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ พ่อแม่ต้องสร้างบรรยากาศในครอบครัว ของความรู้สึกว่า ปัญหาต่างๆเป็นเรื่องสำหรับให้แก้ ไม่ใช่เป็นเรื่องให้กลุ้มนะคะ ปัญหาเป็นสิ่งที่ท้าทายให้เราเอาชนะ ที่จะให้เราแก้ปัญหาแล้วก็ทำให้มันดีขึ้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะมาจมอยู่กับความทุกข์ แล้วรู้สึกว่าชีวิตมันแย่ มันไม่ไปถึงไหน ฉันหมดแรง ฉันทำไม่ได้หรอกนะคะ อันนี้ถ้าอธิบายทางด้านจิตวิทยาเป็นวิชาการซักนิดนึง ก็คือ เป็นการช่วยให้ลูกเกิดความรู้สึกว่าฉัน ควบคุมชีวิตของฉันได้ฉันเปลี่ยนแปลงชีวิตของฉันได้ ชีวิตเป็นของเราสถานการณ์ต่างๆเราเปลี่ยนแปลงได้ สถานการต่างๆหรือความยากลำบากในชีวิต แม้จะมาจากสิ่งข้างนอก แต่เราก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงมันได้ ไม่ใช่ว่าเราเป็นเหยื่อของสิ่งข้างนอก ไม่ใช่ว่าเราเป็นเหยื่อของอิทธิพลข้างนอกนะคะ ในทางจิตวิทยาเรียกว่า การสร้าง internal locus of control หมายความว่า จุดศูนย์กลางของการควบคุมสิ่งต่างๆและปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ มันอยู่ที่ภายในตัวของเราเองไม่ใช่อยู่ที่ภายนอก หรือที่เรียกว่า External locus of control นะคะ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะมันจะทำให้ลูกมีเข้มแข็ง มีความรู้สึกว่า เขาไม่ได้เป็นเหยื่อ แต่เขาเป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาได้ แล้วเขาทำให้ชีวิตของเขาไปข้างหน้าได้ แทนที่จะหยุดอยู่กับที่ เพียงเพราะมีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ สบอารมณ์เกิดขึ้นมาในชีวิตคะ
.

Reference

None

Downloadable


เนื้อหาดาวโหลดนี้สำหรับสมาชิกรายปีเท่านั้น หากท่านเป็นสมาชิกอยู่แล้ว ท่านสามารถเข้าสู่ระบบได้ตามลิ้งนี้ เข้าสู่ระบบ. หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านสามารถสมัครสมาชิกได้ที่ลิ้งต่อไปนี้ สมัครสมาชิก.


Back to: เรียนฟรี รวมความรู้เบื้องต้น