เมื่อลูกน้อยใจ


หลักสูตรหรือบทเรียนนี้สำหรับสมาชิกรายเดือน และสมาชิกรายปีเท่านั้่น หากท่านเป็นสมาชิกอยู่แล้ว ท่านสามารถเข้าสู่ระบบได้ตามลิ้งนี้ เข้าสู่ระบบ. หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านสามารถสมัครสมาชิกได้ที่ลิ้งต่อไปนี้ สมัครสมาชิก.

Overview

ผู้สอน : ศ.พญ. อุมาพร ตรังคสมบัติ

ระยะเวลา : 7.06 นาที

คำอธิบาย : ความน้อยใจ อาจทำให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างไม่มั่นคง มีความนับถือตนเองต่ำและมีอาการซึมเศร้าได้ ใส่ใจความรู้สึกของลูกสักนิด และเข้าใจ ปฎิสัมพันธ์ที่คุณมีต่อลูก ให้เป็นบวกมากขึ้น ก็จะแก้ปัญหานี้ได้

Transcript

มีผู้ปกครองถามมาว่าทำไมลูกขี้ใจน้อยนะคะ   เวลาใจน้อยแล้วก็มีอะไรนิดนึง   ก็จะ ร้องไห้น้ำตาไหล แล้วก็บ่นว่าพ่อแม่ไม่รัก   ผู้ปกคองก็สงสัยว่า เราก็รักลูกดีนี่นา   รักเท่ากันทุกคน แล้วทำไมลูกมาใจน้อย   แล้วมาหาว่าเราไม่รักเค้า นะคะ   อันนี้ก็จะตอบอย่างนี้คะ   พ่อแม่ที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคน   ลูกๆจะคอยสอดส่ายสายตาดูว่าพ่อแม่ทำยังไง   เขาเก็บบันทึกนะคะ   ในความคิดของเค้าว่า   พ่อแม่กอดใครมากกว่าพ่อแม่ให้ขนมใครชิ้นโตกว่า   ใครได้ของใหม่กว่าทำนองนี้นะคะ   แล้วก็เปรียบเทียบพ่อแม่ดุใครมากกว่า   พูดดีกับใครมากกว่า เขาก็จะเปรียบเทียบเขา   กับพี่ๆน้องๆ   ว่า ใครเป็นคนโปรด ใครเป็นคนที่พ่อแม่รักมากกว่า   ใครถูกรักน้อยกว่า   อันนี้จะทำให้เด็กๆ   เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงในตัวเองถ้าเกิดพ่อแม่   ทำอะไรบางอย่างที่ทำให้ลูกรู้สึกว่ามันไม่เท่ากัน   ความยากของการเป็นพ่อแม่ก็คือ   การที่ มันเป็นไปได้ยากมากที่เราจะทำให้กับลูกทุกคนเท่ากัน   เพราะลูกแต่ละคนก็มี ลักษณะนิสัย   หรือว่า การกระทำที่แตกต่างกัน   บางคนก็ ลูกบางคนก็เป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย   บางคนก็พูดยากมาก   ในแบบนั้นพ่อแม่ก็ต้องดุบ่อยๆ   พอดุเข้าบ่อยๆ ทำไมถึงไม่ดุน้อง พ่อแม่รักน้องมากกว่ารักเค้า   แต่เด็กๆก็ไม่ได้ทันคิดหรอกนะว่า   เขาก็ไม่ค่อยเชื่อฟังแล้วก็พูดยาก   ก็เลยทำให้พ่อแม่ต้องดุ   อย่างว่านะคะเด็กๆยังคิดไม่เป็น   เพราะฉะนั้นเด็กเองก็ให้เหตุผลตัวเองแบบง่ายๆว่า   เขาคงเป็นเด็กที่พ่อแม่ไม่ได้รัก นะคะ   อันนี้ก็จะเริ่มทำให้เกิดความรู้สึกน้อยใจ   ความรู้สึกน้อยใจก็จะเแทรกซึมอยู่ในชีวิต นะคะ   แล้วแสดงออกมาในปฏิกิริยา แต่ละวันนะคะ   แล้วก็จะออกมาเป็นลักษณะของการที่รู้สึกว่า   โกรธง่าย หงุดหงิดขี้โมโห   ประท้วงบ้างบางครั้ง   แต่บางคนก็แยกตัว ในบางคนความรู้สึกน้อยใจมากๆอย่างนี้ก็   ซึมเศร้าไปเลยนะคะ อยากจะบอกพ่อแม่อย่างนี้คะว่า   แม้ว่าคุณจะคิดว่าคุณรักลูกเท่ากันหมดทุกคน   แต่ในความเป็นจริงแล้ว   คุณแสดงกับแต่ละคนแตกต่างกันค่ะ   แล้วคุณควรจะยอมรับความรู้สึกของลูกที่มี   เช่น ยอมรับว่าลูกคนนี้รู้สึกขาดรัก   ลูกคนนี้รู้สึกว่าน้อยใจ   มันเป็นความรู้สึกของเด็กนะคะ   แล้วความรู้สึกเป็นของที่เกิดขึ้นจริง   ในใจของเรา ในสมองของเรา   เราไม่ได้สร้างมันขึ้นมาแบบ อยากจะรู้สึกน้อยใจไม่ช่อย่างนั้น   มันออโตเมติก อัตโนมัตินะคะ   เพราะฉะนั้นพ่อแม่ควรจะตระหนักถึง ความจริงที่ว่า   เด็กๆเกิดน้อยใจ เกิดรู้สึกขาดรักได้   แม้ว่าพ่อแม่จะพยายามทำเต็มที่   ในที่นี่ไม่ได้แปลว่าพ่อแม่ผิดนะคะ   แต่หมายความว่า พ่อแม่ต้องต้องพยายามมากขึ้นกว่าเดิม   ถ้าเมื่อไหร่ลูกของคุณขี้ใจน้อย   น้อยใจว่าคุณไม่รัก ลองสังเกตดูนะคะว่า   คุณมีปฏิสัมพันธ์กับเขายังไง   คุณอาจจะมีปฏิสัมพันธ์ในเชิงตำหนิต่อว่า   บ่อยกว่า ที่คุณทำกับลูกคนอื่น   เลยทำให้เด็กเปรียบเทียบได้   เอาละ   คุณอาจจะต้องจัดการแก้ปัญหานี้โดยการที่จะช่วย   จัดการในเรื่องพฤติกรรมของเขาที่มันดื้อไม่เชื่อฟัง   ในแบบที่นุ่มนวลกว่าเดิม   ในแบบที่เป็นการเตือน ไม่ใช่การบ่นว่า   ในแบบที่มีความอดทนขึ้น   เพราะว่าเวลาพ่อแม่ไม่ค่อยมีความอดทนนะคะ   หรือว่ามันเบรคแตกนะคะมันก็จะแสดงปฏิกิริยา   ที่ไม่ดีกับลูกนะคะ   แล้วเด็กๆก็ อย่างที่บอกแล้วว่า   เด็กๆก็ไม่ได้คิด   ลึกมากว่าฉันเองเป็นต้นเหตุุ   ของการที่พ่อแม่ทำอย่างนั้น   เด็กๆก็คิดง่ายๆว่า   ฉันคงไม่ดีฉันคงไม่น่ารัก พ่อแม่ไม่รักฉัน   ขอให้ลองทบทวนปฏิสัมพันธ์   ที่เรามีกับลูกนะคะ ว่าเราทำอะไรบางอย่าง   ที่ทำให้ลูกรู้สึกไม่มั่นคงในความรัก   ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าคุณจะดุลูกไม่ได้ แต่หมายความว่า   คุณคงจะต้องมาจัดการกับปัญหาที่มีระหว่างกัน   ในแบบที่ใจเย็นขึ้นกว่าเดิม   ในแบบเชิงบวก   ในแบบที่ให้กำลังใจ แทนที่จะจัดการในแบบลบ   ในแบบที่ทำให้รู้สึกด้อยค่า   ความรู้สึกน้อยใจนี้เป็นของที่   ต้องแก้นะคะ อย่าทิ้งค้างเอาไว้   เพราะว่า พอทิ้งค้างเอาไว้ มันก็ซึมลึกเข้าไป   ในใจของเด็กมันทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่า   ฉันไม่มีค่า   พอออกไปใช้ชีวิตกับเพื่อนที่โรงเรียน   ก็อาจจะเอาความรู้สึกนี้ติดไปว่า   ฉันไม่มีค่า ไม่มีความหมายสำหรับเพื่อน   แล้วมันก็กลายเป็นมุมมองเกี่ยวกับตัวเองว่า   ฉันคงไม่ดีพอ   ฉันไม่มีความหมาย   ความรู้สึกพวกนี้นะคะ นานๆเข้าถ้ามันสะสมแล้ว   มันนำไปสู่บุคลิกภาพแบบซึมเศร้าได้   หรือางคนอาจจะมีภาวะซึมเศร้าเรื้อรังเลยคะ   เคยเจอเด็กที่มีความรู้สึกน้อยใจพ่อแม่   แล้วเกิดภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง   ที่สำคัญมากก็คือ   ถ้าไม่ได้แก้ ความรู้สึกนี้ก็ต่อเนื่องไปจนโต   ลึกๆ คนนั้นอาจจะมีความรู้สึกว่า   ฉันไม่มีคุณค่า ไม่มีใครรักฉันจริง   พอโตขึ้น เขาไปมีความรัก เขาไปมีคู่รัก   เขาก็จะรู้สึกอย่างนี้   แล้วก็สงสัยในความรักที่เขามีต่อกันนะคะ   มันทำให้ชีวิตคู่ของเขามีปัญหาในอนาคต   ก็นำไปสู่ชีวิตครอบครัวที่มีปัญหา   ความรู้สึกมั่นคงในความรักของพ่อแม่   เป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในตัวลูกนะคะ   ไม่งั้นมันก็ฝังลึก และก็ส่งผลในอนาคต   อาจารย์เคยพูดกับพ่อแม่หลายคนว่า   คุณรู้มั้ย   ความรู้สึกด้อยค่า รู้สึกพ่อแม่ไม่รัก   มันค้างอยู่ในชีวิตของลูกไป   จนกระทั่งลูกแก่เฒ่า   จนกระทั่งเราเองผู้เป็นพ่อแม่ตายจากไปแล้ว   ความรู้สึกด้อยค่านี้ยังอยู่ได้เลยคะ   เพราะฉะนั้นลองหันมาทบทวนดู   ปฏิสัมพันธ์ที่เรามีต่อกันในแต่ละวัน   ว่ามันเป็นบวกหรือมันเป็นลบ   มันเสริมสร้าง   หรือมันทำลาย   แล้วทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมนะคะ  
.

Reference

None

Downloadable


เนื้อหาดาวโหลดนี้สำหรับสมาชิกรายปีเท่านั้น หากท่านเป็นสมาชิกอยู่แล้ว ท่านสามารถเข้าสู่ระบบได้ตามลิ้งนี้ เข้าสู่ระบบ. หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านสามารถสมัครสมาชิกได้ที่ลิ้งต่อไปนี้ สมัครสมาชิก.


Back to: เรียนฟรี รวมความรู้เบื้องต้น