หนังสือสร้างสมาธิให้ลูกคุณ (ebook) ฉบับใหม่ล่าสุด
300.00฿
สำหรับเด็กแล้วสมาธิเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว หากเด็กคนใดมีสมาธิบกพร่อง เช่น มีสมาธิในช่วงสั้นๆ และไม่สามารถตั้งใจทำอะไรได้นานพอ การเรียนรู้ของเด็กก็จะไม่ต่อเนื่อง อาจหยุดชะงักเป็นช่วงๆ หรือเรียนรู้ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น ถ้าเด็กไม่มีสมาธิฟังครูสอน เด็กก็อาจจะได้ยินครูพูดเพียง 5 นาทีแรกเท่านั้น ส่วนเวลาที่เหลืออีกเกือบชั่วโมง เด็กก็จะใจลอยวอกแวกไปตามสิ่งที่อยู่รอบตัว สรุปว่าในชั่วโมงนั้นเด็กเก็บความรู้จากครูได้เพียงร้อยละ 5 ในขณะที่เด็กคนอื่นเก็บได้เกือบถึงร้อยละ 80 เป็นต้น
รายละเอียดเพิ่มเติม
สมาธิเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน หากเราไม่มีสมาธิ เราคงเรียนหนังสือไม่ได้และทำงานไม่เสร็จ นอกจากนี้กิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันก็คงมีปัญหาไปด้วย เช่น หากไม่มีสมาธิในการฟัง เมื่อใครพูดกับเราๆ ก็คงตอบเขาไม่ถูก และหากไม่มีสมาธิในการทำกับข้าว เราก็คงใส่เกลือมากเกินไปจนอาหารมื้อนั้นเค็มปี๋ไปเลย
สมาธิมีผลต่อการเรียนรู้และบุคลิกภาพ
สำหรับเด็กแล้วสมาธิเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัว หากเด็กคนใดมีสมาธิบกพร่อง เช่น มีสมาธิในช่วงสั้นๆ และไม่สามารถตั้งใจทำอะไรได้นานพอ การเรียนรู้ของเด็กก็จะไม่ต่อเนื่อง อาจหยุดชะงักเป็นช่วงๆ หรือเรียนรู้ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น ถ้าเด็กไม่มีสมาธิฟังครูสอน เด็กก็อาจจะได้ยินครูพูดเพียง 5 นาทีแรกเท่านั้น ส่วนเวลาที่เหลืออีกเกือบชั่วโมง เด็กก็จะใจลอยวอกแวกไปตามสิ่งที่อยู่รอบตัว สรุปว่าในชั่วโมงนั้นเด็กเก็บความรู้จากครูได้เพียงร้อยละ 5 ในขณะที่เด็กคนอื่นเก็บได้เกือบถึงร้อยละ 80 เป็นต้น หากเป็นการเล่นทั่วไป เช่น การต่อภาพจิ๊กซอว์ ถ้าเด็กไม่มีสมาธิแล้วเขาจะบังคับตนเองให้นั่งต่อภาพนั้นไม่เสร็จ เมื่อต่อภาพได้เพียงหนึ่งในสี่เขาก็อาจลุกขึ้นไปเล่นของเล่นอื่นแทน ผลที่ตามมาก็คือ เด็กไม่มีโอกาสรู้ว่าภาพที่ต่อจนเสร็จสมบูรณ์นั้นเป็นอย่างไร เด็กจะขาดทักษะความชำนาญในการต่อภาพ และขาดประสบการณ์แห่งความสำเร็จ ไม่รู้ว่าตนเองก็ทำอะไรสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันได้ การขาดประสบการณ์และทักษะดังกล่าว หากเกิดขึ้นซ้ำๆ ก็จะมีผลทำให้เด็กรู้สึกว่าตนไม่เก่งและขาดความเชื่อมั่นในตนเองได้
สมาธิคืออะไร ?
คำว่า สมาธิ (attention) ตามความหมายทางการแพทย์ก็คือ ความสามารถที่จะเพ่งความสนใจไปยังสิ่งกระตุ้นบางสิ่ง (คำว่าสิ่งกระตุ้น (stimuli) หมายถึง อะไรก็ตามที่มากระตุ้นประสาทสัมผัสเช่น ภาพ เสียง กลิ่น ฯลฯ) และเลือกเฟ้นว่าสิ่งกระตุ้นใดบ้างที่ควรให้ความสนใจ
อวัยวะที่รับผิดชอบในการสร้างสมาธิคือ สมอง สมองส่วนที่มีบทบาทในการสร้างสมาธิคือ
ก้านสมอง เป็นส่วนที่อยู่ลึกลงไปตรงกลางของสมอง ที่ส่วนนี้มีระบบที่เรียกว่า RAS (Reticular Activating System) ทำหน้าที่ควบคุมระดับการตื่นตัวของบุคคล ถ้า RAS ถูกทำลายไปก็จะเกิดสภาวะไม่รู้สึกตัวที่เรียกว่า โคม่า (coma) ในคนที่หลับ RAS จะทำงานลดลงทำให้การตื่นตัวของบุคคลนั้นลดลงด้วย
สมองส่วนหน้า (frontal lobe) เป็นสมองที่อยู่ด้านหลังหน้าผาก ทำหน้าที่ควบคุมและเลือกเฟ้นว่าสิ่งกระตุ้นใดมีความสำคัญที่เราจะต้องสนใจหรือมีสมาธิจดจ่อ
ธาลามัสและลิมบิก (thalamus, limbic) เป็นสมองเกี่ยวกับอารมณ์ ส่วนนี้จะมีเส้นใยประสาทติดต่อกับสองส่วนแรก ดังนั้นอารมณ์ของบุคคลจึงมีอิทธิพลต่อสมาธิ คนที่อารมณ์เศร้ามักจะมีสมาธิไม่ดี ใจลอย ขี้ลืม ขาดความสนใจในสิ่งรอบข้าง ส่วนคนที่มีความวิตกกังวลก็จะตั้งสมาธิได้ไม่นานเช่นกัน
สมองทั้งสามส่วนนี้ทำงานประสานกันและมีเส้นใยติดต่อเชื่อมโยงกับสมองส่วนอื่นๆ ด้วย เช่น เชื่อมโยงกับสมองส่วนที่รับภาพและเสียง เป็นต้น สิ่งกระตุ้นหรือข้อมูลต่างๆ ที่เข้ามาสู่ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นแสง เสียงหรือความรู้สึกร้อนหนาวจะผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสและเข้าไปสู่สมอง จากนั้นสมองจะวิเคราะห์ข้อมูล แปลข้อมูล และสั่งการซึ่งแสดงออกมาเป็นการกระทำต่างๆ
ความตั้งใจของพ่อแม่
พ่อและแม่เชื่อว่างานที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเราก็คือการดูแลลูกให้เติบโตได้อย่างเต็มที่ ในเวลาที่เหลืออยู่ไม่กี่ปี ก่อนที่ลูกจะเติบโตและจากเราไป เราจะพยายามอย่างดีที่สุดที่จะช่วยลูก และเตรียมลูกให้พร้อมสำหรับอนาคต
พ่อและแม่รู้ว่าลูกไม่ได้ตั้งใจที่จะเป็นเด็กดื้อ ไม่เชื่อฟังหรือไม่ตั้งใจเรียน ลูกได้พยายามอย่างมากแล้วที่จะทำตัวให้ดี แต่ปัญหาบางอย่างได้เกิดขึ้นกับลูก ลูกจึงทำอย่างที่ตนเองตั้งใจไม่ได้ ดังนั้นพ่อกับแม่จะพยายามอดทนและช่วยลูกให้สามารถเอาชนะความบกพร่องดังกล่าว เราจะอดทนเมื่อลูกดื้อ อารมณ์เสียและดูเหมือนไม่พยายามตั้งใจ เราจะช่วยให้ลูกมีวินัยมากขึ้นและควบคุมตนเองให้ได้ เราจะร่วมมือกับลูกเพื่อเปลี่ยนปัญหาให้เป็นความท้าทาย และความพ่ายแพ้ให้เป็นโอกาสสู่ความสำเร็จ
พ่อและแม่จะไม่บังคับลูกให้เป็นอย่างที่เราต้องการ เรารู้ว่า ลูกเป็นบุคคลที่มีความพิเศษเฉพาะตัว และลูกก็มีชีวิตของลูกเองด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราจะยอมรับเมื่อลูกคิด ทำ หรือ รู้สึกแตกต่างไปจากเรา เราจะไม่คาดคั้นให้ลูกทำอะไรได้สมบูรณ์แบบ แต่จะยอมรับในสิ่งที่ลูกมี สิ่งที่ลูกเป็นและสิ่งที่ลูกทำได้ ความสำเร็จของลูกเป็นสิ่งที่เราพอใจแม้จะเป็นความสำเร็จเพียงเล็กน้อยก็ตาม
ด้วยความตั้งใจและการทำงานหนักเพื่อจะช่วยลูก พ่อและแม่ เชื่อว่า วันหนึ่งลูกจะเติบโตไปเป็นบุคคลที่มีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิต ในวิถีทางของลูกเอง วันนั้นจะเป็นวันที่เรามีความสุขที่สุดเพราะเรารู้ว่าเราได้ทำหน้าที่ของเราสำเร็จแล้ว
คำสนทนาระหว่างหมอกับป๋อม วัย 10 ปี
หมอ : เพราะอะไรถึงได้คะแนนสอบเท่านี้ล่ะจ๊ะ?
ป๋อม : ก็มันฟังไม่รู้เรื่อง
หมอ : ไม่รู้เรื่องเพราะมันยากหรือเปล่า ?
ป๋อม : ไม่ยากหรอก แต่มันไม่มีสมาธิ
หมอ : หมายความว่าอย่างไรที่ว่าไม่มีสมาธิ ?
ป๋อม : ก็ใจมันไม่อยู่ที่ครู
หมอ : แล้วใจลอยไปที่ไหน ?
ป๋อม : ก็คิดถึงการ์ตูน คิดว่ากลับบ้านวันนี้จะเล่นอะไรดี บางทีก็ฟังเพื่อนเขาคุยกัน
หมอ : แล้วป๋อมบังคับใจตัวเองให้ฟังครูไม่ได้หรือ ?
ป๋อม : ก็ได้นิดหน่อย แต่ไม่ได้ซะมากกว่า มันยากนีครับ
หมอ : หมอพอจะนึกออกแล้ว มันคงยากทีเดียว ถ้าง่ายๆ ป๋อมก็คงทำสำเร็จแล้วใช่ไหม ?
ป๋อม : ครับ ผมอยากตั้งใจเรียน ไม่อยากโดนแม่ตีหรอก
หมอ : แม่ตีเรื่องอะไรคะ?
ป๋อม : เรื่องเรียนหนังสือไม่เก่งครับ
สารบัญเนื้อหาหนังสือสร้างสมาธิ
- สมาธิ…สิ่งสำคัญในการเรียนรู้
- ทำไมลูกจึงไม่มีสมาธิ?
- มารู้จักโรคสมาธิบกพร่องกันเถอะ
- ปัญหาที่พบร่วมกับ ADHD
- อาการของโรคสมาธิบกพร่อง
- ลูกเป็นโรคสมาธิบกพร่องรึเปล่า?
- เมื่อคุณพาลูกมาพบแพทย์
- จะช่วยลูกอย่างไรดี?
- ลดสิ่งกระตุ้น
- เพิ่มสมาธิ
- ฝึกการควบคุมตนเอง
- แก้ปัญหาการเรียนของลูก
- แก้ไขพฤติกรรมของลูก
- คุณครูคือคนสำคัญ
- ฝึกทักษะทางสังคม
- กิจกรรมนอกหลักสูตร
- ยา…ช่วยให้สมาธิดีขึ้นจริงหรือ?
- คุณเองก็ต้องการความช่วยเหลือ
- ช่วยลูกสร้างความรักและนับถือตนเอง
- เมื่อลูกโตขึ้น
- ตอบคำถามยอดฮิต
- ADHD ในวัยรุ่น
- ADHD ในผู้ใหญ่
- แบบประเมินโรค ADHD
- ช่วยให้ลูกประสบความสำเร็จ
- บทส่งท้าย
- เอกสารอ้างอิง
Jubjang –
อ่านแล้วได้ความรู้และสามารถนำไปรับมือกับลูกได้ดีมากๆค่ะ
ลูกมีปัญหาสมาธิสั้น เนื่องจากให้ใช้ไอแพดดูการ์ตูนบ่อย
ขอบพระคุณอาจารย์มากๆนะคะ
Ploy –
ขอบคุณอาจารย์และหนังสือสร้างสมาธิให้ลูก ที่ช่วยให้คุณแม่เข้าใจพฤติกรรมของลูก และสามารถจัดการให้ลูกมีสมาธิ โฟกัสกับสิ่งที่กำลังทำได้มากยิ่งขึ้น เป็นประโยชน์จริงๆค่ะ
Pimpada Titagun –
หนังสือเขียนดีมากๆค่า อ่านเข้าใจง่าย ได้วิธีการเลี้ยงลูกและป้องกันปัญหาเด็กสมาธิสั้นได้ เรียกได้ว่าเล่มนี้ครอบคลุมเรื่องการสร้างสมาธิให้ลูกจริงๆ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันจริงๆด้วย แนะนำเลยค่า
Vava –
เป็นหนังสือที่ดีมากๆเลยค่ะ อ่านแล้วได้ความรู้มากขึ้นเลย จะนำความรู้ที่ได้อ่านนี้ไปใช้กับลูกสอนลูกและพัฒนาลูกให้ดีขึ้นนะคะ ขอบพระคุณอาจารย์มากเลยค่ะ
Vinai –
ดีมากครับ อ่านแล้วได้ความรู้เกี่ยวกับสมาธิของลูกได้ดีครับ
BB –
ดีมากค่ะ
Thanyarat –
ลูกเรียนรู้ได้น้อย สนใจสิ่งไหนแค่นิดเดียวอยู่นิ่งๆได้ไม่นาน ตอนแรกกังวลมาก เลยมาอ่านของอาจารย์ ดีมากเลยค่ะ นำไปปรับใช้และช่วยลูกให้มีสมาธิดีขึ้นค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ
Jiw –
ช่วยเสริมสร้างสมาธิให้ลูกได้ดีค่ะ
Ammy –
ดีมากๆครับ ได้ความรู้ในเรื่องสมาธิไปปรับใช้กับลูกได้ครับ
นายภูเบศ บุญส่งทรัพย์ (ผู้ซื้อสินค้า) –
ตามหาเล่มนี้นานมากครับ หมดไปหลายปี ได้ประโยชน์มากครับ ขอบคุณอาจารย์ที่เขียนและปรับปรุงเล่มนี้มา โดนใจมากครับ