12 คำเตือน กรณีลูกฆ่าพ่อแม่ ปัญหาความรุนแรงในเด็ก

อ่านข่าวเศร้าของครอบครัวหนึ่งเมื่อเช้าแล้วก็อยากเตือนพ่อแม่ทุกคนเอาไว้ เพื่อจะรู้จักระวัง ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมา
- วัยรุ่นที่ทำร้ายคน จนถึงแก่ชีวิต
- ข้อแนะนำสั้นๆ 12 ข้อ
- 1. อย่าปล่อยทิ้งไว้
- 2 อย่าปล่อยให้ลูกดูเนื้อหาที่รุนแรงบ่อยๆ
- 3 สอนลูกให้รู้จักการควบคุมอารมณ์ตนเอง
- 4 ควรปรึกษาแพทย์
- 5 พยายามใกล้ชิดกับลูกให้มาก
- 6 ต้องเชื่อมโยงกับลูก
- 7 ดูเรื่องอาการซึมเศร้า
- 8 เปิดช่องทางสื่อสารกับลูก
- 9. อย่าให้ลูกเข้าถึงอาวุธปืน
- 10 ให้ความรักให้มากพอ
- 11. พ่อแม่อย่าทะเลาะกันรุนแรง
- 12. อย่าสั่งสอนโดยวิธีที่ทำให้ลูกได้อายหรือรู้สึกตัวเองไร้ค่า
- เหตุการณ์ที่ลูกฆ่าพ่อแม่แบบนี้น่าจะเป็นได้ 2 กรณี
ขอให้ความรู้ก่อนนะคะงานวิจัยพบว่า
วัยรุ่นที่ทำร้ายคน จนถึงแก่ชีวิต
– ส่วนใหญ่มีปัญหาทางจิตเวช
ที่พบบ่อยคือ เป็นโรคจิตเภทแบบหวาดระแวง (sçhizophrenia แบบ paranoid) เป็นโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) มีปัญหาบุคลิกภาพแบบอันธพาล หรือมีโรคทางสมอง
– เวลาทำร้ายผู้อื่น มักทำแบบวู่วาม
ไม่ทันยั้งคิด เพราะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ (ยกเว้นจิตเภทที่ระแวง)
-มีพฤติกรรมรุนแรง
วัยรุ่นพวกนี้มักมีพฤติกรรมรุนแรงมาก่อนในตอนเป็นเด็ก
-การเห็นฉากที่รุนแรงบ่อยๆ
ทั้งจากเกม และภาพยนตร์ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้วัยรุ่นชาชินกับความรุนแรง
โรคทางจิตเวชในวัยรุ่นมักเริ่มต้นอย่างเงียบๆ และพ่อแม่ไม่รู้ หรือบางทีเห็นว่าลูกเปลี่ยนไป แต่ก็ปล่อยไปเพราะคิดว่าเป็นของธรรมดา เดี๋ยวก็ดีเอง
แต่ไม่ใช่นะ …ขอเตือน
ข้อแนะนำสั้นๆ 12 ข้อ
1. อย่าปล่อยทิ้งไว้
ถ้าลูกมีพฤติกรรมรุนแรง อย่าปล่อยทิ้งไว้ คุณต้องจัดการและน่าจะปรึกษาจิตแพทย์เด็ก
2 อย่าปล่อยให้ลูกดูเนื้อหาที่รุนแรงบ่อยๆ
ไม่ว่าจะจากเกมหรือจากทีวี คุณต้องวางระเบียบวินัยในการดู ไม่ใช่ปล่อยให้ดูเยอะเกินไป
3 สอนลูกให้รู้จักการควบคุมอารมณ์ตนเอง
วิธีเริ่มต้นก็คืออย่าตามใจมากเกินไป ขอให้ดูวีดีโอซุปเปอร์ย่าที่อาจารย์ทำไว้
4 ควรปรึกษาแพทย์
ถ้าลูกวัยรุ่นเริ่มมีอาการแยกตัวชอบอยู่คนเดียว และมีลักษณะความคิดที่ค่อนข้างแปลก คุณไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรปรึกษาจิตแพทย์
5 พยายามใกล้ชิดกับลูกให้มาก
โดยเฉพาะในวัยรุ่น เพราะว่าลูกจะมีชีวิตที่เป็นความลับและคุณอาจจะไม่เข้าใจเลยถ้าคุณไม่ใกล้ชิดพอ แม้ว่ามันจะยากที่จะใกล้ชิดลูกวัยรุ่น แต่คุณต้องพยายาม
6 ต้องเชื่อมโยงกับลูก
สร้างความรู้สึกผูกพันให้ดีพอ อย่าคิดว่าลูกโตแล้วและดูแลตัวเองได้แล้ว
7 ดูเรื่องอาการซึมเศร้า
บางครั้งลูกอาจจะมีอาการซึมเศร้าที่คุณ สังเกตไม่เป็น แต่ขอให้พยายามใกล้ชิดลูก คุณก็จะเห็นว่าลูกแตกต่างไปจากเดิม
8 เปิดช่องทางสื่อสารกับลูก
พยายามเปิดช่องทางสื่อสารเพื่อที่ลูกจะได้ปรึกษาปัญหากับคุณ จำไว้ว่าถ้าเด็กไม่มีที่ปรึกษา เด็กก็จะไปหาวิธีอื่นและบ่อยครั้งเด็กใช้วิธี ทำร้ายตัวเองหรือไม่ก็ทำร้ายคนอื่น เพื่อระบายความอัดอ้ันจากปัญหาที่แก้ไม่ตก
9. อย่าให้ลูกเข้าถึงอาวุธปืน
เคยเห็นหลายบ้านสอนลูกให้ใช้อาวุธปืน เพราะคิดว่าเพื่อเอาไว้ป้องกันตัว ขอให้ระวังให้ดี
10 ให้ความรักให้มากพอ
สร้างความอบอุ่นในครอบครัว
11. พ่อแม่อย่าทะเลาะกันรุนแรง
เพราะมันจะทำให้ ลูกรู้สึกชีวิตรันทด
12. อย่าสั่งสอนโดยวิธีที่ทำให้ลูกได้อายหรือรู้สึกตัวเองไร้ค่า
อย่าสั่งสอนลูกต่อหน้าคนอื่นในลักษณะเป็นการประจานหรือทำให้เสียหน้า
ปล. อาจารย์ขอวิเคราะห์ว่า โดยทั่วไปเด็กปกติไม่ฆ่าพ่อแม่หรือไม่ฆ่าพี่น้อง
เหตุการณ์ที่ลูกฆ่าพ่อแม่แบบนี้น่าจะเป็นได้ 2 กรณี
1 เด็กเป็นโรคจิตเภทแบบระแวง ที่มีความรู้สึกหวาดระแวงว่าจะถูกทำร้าย เลยทำร้ายคนอื่นก่อน
2 มีโรคทางจิตเวชแบบอื่น ที่ควบคุมอารมณ์ได้ยากอยู่แล้ว และมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นในครอบครัว เช่นทะเลาะกันรุนแรงทำให้เด็กเกิดความโกรธที่ควบคุมไม่ได้ จึงทำร้ายคนอื่น การมี อาวุธปืนอยู่ที่บ้าน เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรม ได้อย่างง่ายดาย